คำว่า feudalism มาจากคำว่า fiefs หมายถึง ที่ดินพันธสัญญาระหว่างเจ้านายกับข้า โดยเกี่ยวข้องกับการใช้ที่ดิน และ ระบบเศรษฐกิจเป็นแบบแมเนอร์ (Manor)
ระบบฟิวดัล เกิดจากประเพณีของชาวโรมันผสมผสานเข้ากับประเพณีคอมิเตตัส (comitatus) ของพวกอนารยชนเผ่ากอทหรือเยอรมัน
ระบบฟิวดัลเน้นระบบ "ต่างตอบแทน" โดยยึดหลักการว่า กษัตริย์เป็นเจ้าของที่ดิน แบ่งที่ดินให้ขุนนางและอัศวินไปทำประโยชน์ ขุนนางและอัศวินต้องรับใช้และจงรักภักดีต่อกษัตริย์เพื่อเป็นการตอบแทน
ระบบฟิวดัลเป็นการปกครองแบบกระจายอำนาจ โดยคนที่มีอำนาจมากที่สุดคือ ขุนนาง
ระบบฟิวดัลทำให้เกิดระบบเศรษฐกิจแบบแมเนอร์หรือเศรษฐกิจแบบเลี้ยงชีพ หรือ เศรษฐกิจแบบเลี้ยงตนเอง หรือ เศรษฐกิจแบบคฤหาสน์ มีศูนย์กลางอบู่ที่บ้านของ Lord
ระบบฟิวดัลแบ่งชนชั้นออกเป็น 5 ชนชั้น
1. กษัตริย์ มีฐานะเป็น Lord สูงสุดโดยมีขุนนางเป็น Vassal มีพันธะผูกพันทางหน้าที่ต่อกัน กษัตริย์จะพระราชทานที่ดินเป็นการมอบหมายอำนาจในการปกครองให้กับขุนนาง ขุนนางมีข้อผูกพันกับกษัตริย์เพราะมีที่ดินอยู่ในอาณาเขตจึงย่อมเป็น Vassal มีหน้าที่ช่วยเหลือกษัตริย์ยามสงคราม ที่ดินที่พระราชทานให้สามารถริบคืนได้ถ้า Vassal ไม่ปฏิบัติตามสัญญาหรือสิ้นชีวิตโดยไม่มีทายาท
2. ชนชั้นปกครองหรือขุนนางเจ้าของที่ดิน (Suzerain) นับตั้งแต่อัศวินขึ้นไปในฝรั่งเศส มีบรรดาศักดิ์เป็น Duke,Earl, Lord, Baron, Count มีการปกครองลดหลั่นตามลำดับขั้น ขุนนางจะคอยดูแลปกครองเสรีชน เสรีชนมีฐานะเป็น Vassal ของขุนนาง ขุนนางมีฐานะเป็นทั้ง Vassalของกษัตริย์ ขุนนางชั้นสูงยังมีฐานะเป็น Lord ของขุนนางชั้นต่ำกว่าลงมา
3. เสรีชน (Villain) ส่วนใหญ่เป็นชาวนา เป็นผู้เช่าที่ดินซึ่งเคยเป็นของตนเองแต่ไม่มีภาระผูกติดกับที่ดินหรือเป็นเจ้าของที่นาขนาดเล็ก ชาวนารายเล็กๆ
4. ทาสติดที่ดิน (Serf) คือชาวนาที่อาศัย ทำกินบนที่ดินตั้งแต่บรรพบุรุษ ต้องผูกติดกับที่ดิน จะโยกย้ายไปไหนไม่ได้ อยู่ในการควบคุมของเจ้านาย
5. พระและนักบวช มีบทบาททางการอบรมจิตใจให้แก่สามัญชน