ฟรี
  • ส23104 ประวัติศาสตร์6 (งดเข้าเรียน)
    เว็บไซต์การจัดการเรียนการสอนของครูมิตรสัน (บทเรียนออนไลน์) โรงเรียนเพชรพิทยาคม ต.ในเมือง อ.เมืองเพชรบูรณ์ จ.เพชรบูรณ์ 67000

ระบบเศรษฐกิจแบบแมนเนอร์ (Manorial System)

ระบบเศรษฐกิจแบบแมนเนอร์ (Manorial System)

แมนเนอร์มีมาตั้งแต่สมัยโรมันเรืองอำนาจเรื่อยมาจนถึงยุค แองโกล - แซกซอน ในอังกฤษและแพรหลายไปอย่างกว้างขวางในตอนปลายของสมัยกลาง โดยในแมนเนอร์หนึ่งๆ ประกอบด้วย หมู่บ้านมีปราสาทคฤหาสน์และวังสำหรับขุนนางและกษัตริย์ และมีที่ดินเพื่อการเพาะปลูก ปศุสัตว์ และป่าไม้ การเกษตรถือว่าเป็นกิจกรรมที่สำคัญที่สุด และผู้ที่อาศัยในแมนเนอร์ประกอบด้วยชนชั้นขุนนาง ชนชั้นไพร่ ชนชั้นทาส และชนชั้นอื่น

การเพาะปลูกในแมนเนอร์มักใช้วิธีการเพาะปลูกแบบระบบนา 2 ทุ่ง หรือนา 3 ทุ่ง โดยการเพาะปลูกพืชต่างๆ ในทุ่งนาหนึ่งหรือสองทุ่ง และปล่อยที่นาที่เหลือให้ว่างไว้เสมอ เพื่อเป็นการเตรียมไว้เพราะปลูกในปีต่อไป แล้วสลับกันไปเรื่อยๆ สำหรับปีต่อไป

วิถีชีวิตทางเศรษฐกิจในแมนเนอร์ขึ้นอยู่กับการเพาะปลูกและการเลี้ยงสัตว์เป็นอาชีพหลักโดยมีการค้าบ้างตามเมืองต่างๆ ส่วนสังคมในแมนเนอร์ขึ้นอยู่กับขนบธรรมเนียมและประเพณีตลอดจนสถานภาพของแต่ละคนที่ถูกกำหนดโดยชั้นของบุคคลที่เขาได้ถือกำเนิดมาในชุมชนนั้น

การเสื่อมสลายของแมนเนอร์เกิดจากเหตุหลายประการ เช่น การเพิ่มขึ้นของจำนวนประชากร การฟื้นฟูทางการค้าและอุตสาหกรรม การเกิดโรคระบาดใหญ่ การเรียกร้องค่าจ้างสูงขึ้น การเปลี่ยนแปลงด้านการเกษตร การกั้นรั้วเพื่อเลี้ยงแกะ และการเคลื่อนย้ายของพลเมือง เป็นต้น

ลักษณะทั่วไปของแมนเนอร์
ระบบแมนเนอร์ถ้าจะนับแล้วมีมาแต่สมัยจักรวรรดิโรมันเรืองอำนาจในยุโรป และได้เจริญเติบโตและขยายไปยังที่อื่น ๆ ในเวลาต่อมา เช่นไปยังประเทศอังกฤษในสมัยแองโกล-แซกซอน และสมัยกษัตริย์นอร์แมนในกลางศตวรรษที่ 11 ในระบบแมนเนอร์ถือว่าการเกษตรเป็นกิจกรรมที่มีความสำคัญที่สุด เพราะต้องอาศัยผลิตผลจากการเกษตรเพื่อเป็นอาหารของทุกคนในแมนเนอร์
ผู้ที่อาศัยอยู่ในแมนเนอร์หนึ่ง ๆ มักประกอบด้วย

  1. ชนชั้นขุนนางหรือเจ้าของแมนเนอร์
  2. ชนชั้นไพร่ซึ่งแยกออกเป็น ชนชั้นวิเลนส์และชนชั้นคอททาร์
  3. ชนชั้นทาส
  4. ชนชั้นอื่น ๆ เช่น เสรีชน ทาส ชาวเมือง และเจ้าหน้าที่บ้านเมือง มักเป็นผู้ที่เข้ามาอาศัยอยู่เป็นครั้งคราวในแมนเนอร์นั้น ๆ เพื่อวัตถุประสงค์ต่าง ๆ กัน

     

     


เข้าดู : 210 ครั้ง