พัฒนาการด้านเศรษฐกิจ คนส่วนใหญ่มักจะนึกถึงสภาพความอดอยากและความแร้นแค้นในการครองชีพของชาวแอฟริกันมากกว่าที่จะนึกว่าทวีปนี้เป็นแหล่งผลิเพชร (Johannesburg) ได้ชื่อว่าเป็น นครแห่งทองคำและเมืองคิมเบอร์ลีย์(Kimberley) ได้ชื่อว่า นครแห่งเพชรส่วนประเทศกานาเมื่อครั้งเป็นอาณานิคมของอังกฤษก็ได้ชื่อว่า ชายฝั่งทองคำหรือโกลด์โคสต์ (Gold Coast) ทั้งนี้เพราะเขตความเจริญทางเศรษฐกิจของทวีปปรากฏเป็นเพียงจุดเล็กๆ บนแผนที่เท่านั้น ประชากรร้อยละ ๗๐ ยังคงอาศัยอยู่ในหมู่บ้านหรือเมืองขนาดเล็ก หรือกล่าวอีกนัยหนึ่ง ชาวแอฟริกันยังคงเป็นชาวชนบท ซึ่งส่วนใหญ่ดำรงชีพด้วยการเพาะปลูก จากรายงานการพัฒนามนุษย์ของสหประชาชาติ ค.ศ. ๒๐๐๓ ประเทศที่อยู่ในลำดับที่ ๑๕๑-๑๗๕ ล้วนอยู่ในทวีปแอฟริกาทั้งสิ้น
สำหรับมูลเหตุแห่งความล้าหลังทางเศรษฐกิจของทวีปแอฟริกาสามารถสรุปได้ ดังนี้
๒.๑) การตกอยู่ภายใต้การชี้นำทางเศรษฐกิจของประเทศตะวันตกที่เข้ามาตั้งอาณานิคม เมื่อได้รับเอกราชใหม่ๆ เศรษฐกิจของประเทศต่างๆ มักขึ้นอยู่กับการส่งออกผลิตผลทางการเกษตรหรือแร่ธาตุเพียงชนิดเดียว การพึ่งพิงการผลิตสินค้าประเภทเดียวจะถูกกระทบอย่างรุนแรงจากอัตราการขึ้นลงของราคาในตลาดโลก ประเทศต่างๆ ในปัจจุบันจึงพยายามขยายประเภทของสินค้าและกระจายสินค้าสู่วงกว้าง ไม่ได้ตลาดที่รองรับมีเพียงผู้ซื้อไม่กี่ราย
๒.๒) ความลำบากในการใช้ประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติและการคมนาคมขนส่งสินค้าและวัตถุดิบในทวีป เพราะมีอุปสรรคที่เกิดจากสภาพภูมิศาสตร์ โดยเฉพาะจากแม่น้ำสายหลัก ๔ สาย ได้แก่ แม่น้ำไนล์ แม่น้ำคองโก แม่น้ำไนเจอร์ และแม่น้ำแซมบีซี แม่น้ำทั้ง ๔ สายมีกำเนิดมาจากบริเวณที่สูงตอนกลางของทวีป บางตอนไหลผ่านที่สูงชันเป็นหน้าผาหรือเกาะแก่ง น้ำจะไหลเชี่ยวมาก ทำให้ไม่สามารถเดินเรือไก้ตลอด พื้นที่ที่เป็นทะเลทราย ป่าร้อนชื้น น้ำตก และที่ราบสูง ก็ทำให้ยากต่อการตัดเส้นทางรถไฟผ่านทวีป บริการรถไฟจึงมักเป็นเพียงสายสั้นๆ เชื่อมเขตไร่ขนาดใหญ่หรือเขตเหมืองแร่กับเมืองท่าริมฝั่งทะเล นอกจากนี้ การเกิดกรณีพิพาทระหว่างประเทศหรือกลุ่มชนก็กระทบกระเทือนการเชื่อมต่อดินแดนต่างๆ ด้วย
๒.๓) การทำเกษตรกรรมไม่ได้ผลดี นอกจากเพราะขาดแคลนเทคโนโลยีแล้วยังเนื่องมาจากพื้นที่ส่วนใหญ่ของประเทศแห้งแล้ง บริเวณที่เพาะปลูกอยู่ในเขตฝนตกน้อยและอากาศร้อน การระเหยของน้ำเป็นไปอย่างรวดเร็ว การเกษตรที่ได้ผลดีจะอยู่ในเขตที่ชาวยุโรปเข้าไปบุกเบิกด้วยการทำไร่ขนาดใหญ่ มีเทคโนโลยีทันสมัย เช่น ในเคนยามีการทำไร่กาแฟขนาดใหญ่ ไนจีเรียทำไร่ปาล์มน้ำมัน
บางประเทศพยายามหารายได้โดยการนำจุดเด่นของทวีมาใช้ประโยชน์ เช่น การกำหนดเขตอุทยานสัตว์ป่าและให้นักท่องเที่ยวเข้าชมสัตว์ในสภาพธรรมชาติ เช่น ในประเทศแอฟริกาใต้ ซิมบับเว แคเมอรูน เคนยา แทนซาเนีย บูร์กินาฟาโซ เป็นต้น อย่างไรก็ดี การที่ประชากรแอฟริกันเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว ทำให้พลเมืองบางส่วนโดยเฉพาะชาวไร่และผู้เลี้ยงสัตว์ไม่เห็นด้วยกับการใช้ที่ดินในลักษณะนี้โดยเฉพาะที่เคนยา รัฐบาลจึงต้องแก้ปัญหาโดยนำเงินที่ได้จากอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวมาจ่ายให้แก่ชาวบ้านที่ดำรงชีพอยู่ใกล้ๆ เขตอุทยาน