ฟรี
  • ส33212 กฎหมายมรดก (ม.6/13)
    เว็บไซต์การจัดการเรียนการสอนของครูมิตรสัน (บทเรียนออนไลน์) โรงเรียนเพชรพิทยาคม ต.ในเมือง อ.เมืองเพชรบูรณ์ จ.เพชรบูรณ์ 67000

7.ใบความรู้1.1 เรื่อง การหมั้น

ใบความรู้1 การหมั้น
รายวิชาส33212  กฎหมายมรดก
ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่  6/13  โรงเรียนเพชรพิทยาคม
หน่วยการเรียนรู้ที่ 1  ลักษณะหมายแพ่ง : ครอบครัว
นายมิตรสัน  ด้วงธรรม : ผู้สอน
ชื่อ-สกุล .............................................................................ห้อง ม.6/13 เลขที่...........
คำชี้แจง ให้ผู้เรียนทำความเข้าใจและตอบคำถามต่อไปนี้ให้สมบูรณ์
 
ส่วนของคำถาม
โจทย์   นายคณิตทำสัญญาหมั้น น.ส.นารีด้วยแหวนเพชร 1 วง ต่อมานายสมคิดซึ่งเคยอยู่กินฉันสามีภรรยากับ น.ส.นารี แต่นายคณิตไม่ทราบได้มาปรึกษาว่ามีหนี้สินจำนวนมาก น.ส.นารีได้วางแผนกับนายสมคิดเอาทองปลอมมาขายให้กับนางปราณี ซึ่งเป็นมารดาของ น.ส.นารี เมื่อนายคณิตทราบความจริงจึงเห็นว่า น.ส.นารี เป็นคนไม่ดีจึงไม่ต้องการสมรสด้วย และต้องการฟ้องเรียกค่าทดแทนจาก น.ส.นารี และนายสมคิดด้วย เช่นนี้ ในแต่ละกรณีนายคณิตสามารถทำได้หรือไม่ เพราะเหตุใด จงอธิบาย
 
แนวคำตอบ    หลักกฏหมาย ป.พ.พ.มาตรา 1442, 1444, 1445
มาตรา 1442  (เหตุสำคัญเกิดแก่หญิงคู่หมั้น)
                   กรณี มีเหตุสำคัญเกิดแก่หญิงคู่หมั้น ทำให้ชายไม่สมควรสมรสกับหญิงนั้น ** ชายมีสิทธิบอกเลิกสัญญาหมั้นได้ และให้หญิงคืนของหมั้นแก่ชาย
มาตรา 1444  (คู่หมั้นผู้กระทำชั่วต้องใช้ค่าทดแทน)
                   ถ้า เหตุทำให้คู่หมั้นบอกเลิกสัญญาหมั้น เพราะการกระทำชั่วร้ายแรงของคู่หมั้นอีกฝ่ายหนึ่งภายหลังการหมั้น ** คู่หมั้นผู้กระทำชั่วอย่างร้ายแรงนั้นต้องรับผิดใช้ค่าทดแทนแก่คู่หมั้นผู้ใช้สิทธิบอกเลิกสัญญาหมั้น เสมือนเป็นผู้ผิดสัญญาหมั้น
มาตรา 1445  (สิทธิเรียกค่าทดแทนจากชายหรือหญิงอื่นซึ่งได้ร่วมประเวณีกับหญิงหรือชายคู่หมั้น)
                   ชายหรือหญิงคู่หมั้น อาจเรียกค่าทดแทนจากผู้ซึ่งได้ร่วมประเวณีกับคู่หมั้นของตน โดยรู้หรือควรจะรู้ถึงการหมั้น  เมื่อได้บอกเลิกสัญญาหมั้นแล้ว ตามมาตรา 1442 หรือ มาตรา 1443
 
วินิจฉัย
                    นายคณิต อ้างเหตุสำคัญอันเกิดแก่หญิงตามมาตรา 1442 เพื่อบอกเลิกสัญญาหมั้นได้ และฟ้องเรียกค่าทดแทนจาก น.ส.นารีได้ตามมาตรา 1444 เพราะเป็นการกระทำชั่วอย่างร้ายแรงภายหลังการหมั้น ที่เอาทองปลอมมาขายให้กับนางปราณีซึ่งเป็นมารดาของ น.ส.นารี
 
                   นายคณิต ไม่สามารถฟ้องเรียกค่าทดแทนจากนายสมคิด เพราะนายสมคิดได้อยู่กินฉันสามีภรรยากับ น.ส.นารี ก่อนที่ น.ส.นารีจะมาทำสัญญาหมั้นกับนายคณิต (อ้างมาตรา 1445)
 
สรุป   
นายคณิตบอกเลิกสัญญาหมั้นได้ ไม่ต้องสมรสกับน.ส.นารี และสามารถฟ้องเรียกค่าทดแทนจาก น.ส.นารีได้ แต่ไม่สามารถฟ้องเรียกค่าทดแทนจากนายสมคิดได้ ตามเหตุผลดังกล่าวข้างต้น
 
 
แบบประเมินคะแนน
เกณฑ์การประเมิน สรุปผลการประเมิน
ความรู้ความเข้าใจ
4 คะแนน
(.....................)
การนำไปใช้
3 คะแนน
(.....................)
ทักษะ
3 คะแนน
(.....................)
(    ) ดีมาก 9-10 คะแนน
(    ) ดี 7-8 คะแนน
(    ) พอใช้ 5-6 คแนน
(    ) ปรับปรุง 0-4  คะแนน
 
 
ลงชื่อ ...................................ผู้ประเมิน
(นายมิตรสัน  ด้วงธรรม)

เข้าดู : 166 ครั้ง