ฟรี
  • I30201 (Independent Study : IS1)
    เว็บไซต์การจัดการเรียนการสอนของครูมิตรสัน (บทเรียนออนไลน์) โรงเรียนเพชรพิทยาคม ต.ในเมือง อ.เมืองเพชรบูรณ์ จ.เพชรบูรณ์ 67000

ตัวอย่างการเขียนบทที่ 1 (ศึกษา)

การศึกษาค้นคว้าและองค์ความรู้ เรื่อง ปริมาณการใช้สารเคมีในการเกษตรของเกษตรกร ในตำบลบุ่งคล้า
บทที่ ๑
บทนำ
ที่มาและความสำคัญของปัญหา
จากข้อมูลของสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร กรมวิชาการเกษตรปี พ.ศ. ๒๕๕๔ ประเทศไทยมีปริมาณการนำเข้าสารกำจัดแมลง เท่ากับ ๓๔,๖๗๒,๐๐๐ กิโลกรัม จากการคำนวณค่าเฉลี่ยพบว่าคนไทย ๖๔.๑ ล้านคน มีความเสี่ยงต่อการได้รับสารเคมี กำจัดศัตรูพืชมากกว่า ๒.๖ กิโลกรัมต่อคนต่อไป ถึงแม้ว่าประเทศไทยได้มีกฎหมายควบคุมการใช้สารเคมีโดยการงดการนำเข้า/ขึ้นทะเบียนสารเคมีบางประเภทแล้ว แต่ยังคงเหลือตกค้างแล้วใช้งานภายในประเทศอยู่เป็นจำนวนมาก และสารกำจัดศัตรูพืชหลายชนิดที่มีพิษร้ายแรงต่อสิ่งมีชีวิต อาทิเช่น คาร์โบฟราน เมโทมิล   ไดโครโตฟอส อีพีเอ็น ซึ่งสหภาพยุโรป สหรัฐอเมริกา และหลายประเทศในเอเชีย อาทิเช่น อินเดีย ลาว กัมพูชา เมียนมาร์ อินโดนีเซีย ได้ยกเลิกการใช้หรือไม่รับขึ้นทะเบียน เนื่องจากมีข้อมูลความปลอดภัยไม่เพียงพอ แต่ประเทศไทยยังคงมีการนำเข้าอยู่ และปริมาณการนำเข้าในแต่ละปีมีแนวโน้มสูงขึ้น
          การใช้สารเคมีในการเกษตร เริ่มขึ้นจากการเปลี่ยนแปลงรูปแบบการเกษตรจากการเกษตรที่พึ่งตนเองและธรรมชาติ การผลิตเพื่อบริโภค เป็นการเกษตรอุตสาหกรรมเพื่อการค้า การผลิตที่เน้นปริมาณ แต่ขาดการคำนึงถึงคุณภาพและมีความเสี่ยงปนเปื้อนสารเคมีต่างๆ อาทิเช่น สารปรุงแต่ง สารกันเสีย สารฟอกขาว ยาฆ่าแมลง ยากำจัดศัตรูพืช เป็นต้น การเปลี่ยนแปลงดังกล่าว เริ่มต้นและขยายวงกว้างขึ้นอย่างรวดเร็ว เมื่อประเทศเดินหน้าเข้าสู่การปฏิวัติเขียว ประมาณ    พ.ศ. ๒๕๐๔ ด้วยบางนโยบายของรัฐ และการผลักดันของกลุ่มนายทุนขนาดใหญ่ จึงเกิดการปรับปรุงพันธุ์ข้าวที่มีอยู่กว่า ๒๒,๐๐๐ สายพันธุ์ให้เหลือเพียงประมาณ ๑๐ สายพันธ์ที่เติบโตได้ดีในปุ๋ยเคมี ตอบสนองต่อยาฆ่าแมลงและยากำจัดศัตรูพืช นอกจากนี้ การขยายตัวของสังคมเมืองยังเปลี่ยนพื้นที่เดิมปลูกอาหาร/ผักสวนครัว กลายเป็นตึกสูงๆจำนวนมาก สังคมทุนนิยมทำให้อาหารเป็นสินค้า ระบบกาผลิตอาหารที่มีเป้าหมายเพื่อตอบสนองความต้องการเชิงปริมาณของตลาดและมองผลประกอบการและผลกำไรเป็นหลัก มีการใช้สารเคมีใช้พันธุกรรมและเทคโนโลยี เพื่อเพิ่มปริมาณของผลผลิต ซึ่งส่งผลต่อความอุดมสมบูรณ์ของดิน น้ำ ป่าไม้ และยังส่งผลต่อร่ากายของ   ทั้งผู้ผลิตและผู้บริโภคอีกด้วย ในตำบลบุ่งคล้าส่วนมากก็ถือว่ามีอาชีพเกษตร และมีการนำสารเคมีมาใช้กับผลผลิตของตนเองเป็นจำนวนมาก อาทิเช่น ใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืช ทำให้ผลผลิตอาจมีสารเคมีตกค้าง นอกจากจะทำให้ผู้บริโภคได้รับสารเคมีแล้วตัวของผู้ผลิตก็อาจจะได้รับสารเคมี เมื่อเวลาฉีดหรือใช้สารเคมีในการกำจัดศัตรูพืช เมื่อได้รับสารเคมีเข้าสู่ร่างกายเป็นจำนวนมาก จะทำให้เกิดปัญหาด้านสุขภาพ ปัญหาด้านสุขภาพสามารถแบ่งออกได้เป็น 2 ส่วนคือ ผลกระทบที่เป็นพิษเฉียบพลัน ซึ่งผู้ป่วยอาจมีอาการในทันทีหลังจาการสัมผัสสารเคมี อาทิเช่น คลื่นไส้ อาเจียน ปวดหัว ปวดตามกล้ามเนื้อ ท้องร่วง หายใจติดขัด ตาพร่า เป็นต้น ส่วนผลกระทบที่สอง คือผลกระทบที่เป็นพิษเรื้อรัง ซึ่งเกิดจากการสะสมที่ก่อให้เกิดโรคหรือปัญหาอื่นๆ อาทิเช่น มะเร็ง เบาหวาน อัมพฤกษ์ อัมพาต โรคผิวหนังต่างๆ การเป็นหมัน การพิการของทารกแรกเกิดหรือการเสื่อมสมรรถภาพ     ทางเพศ เป็นต้น
 
 
ในชาวบ้านหมู่ที่ ๑ ตำบลบุ่งคล้า มีอาชีพทำการเกษตรแทบทุกหลังคาเรือน จึงเสี่ยงที่จะได้รับพิษภัยของสารเคมี ทั้งทางตงและทางอ้อม จากสภาพดังกล่าวคณะผู้จัดทำจึงได้ศึกษาและค้นคว้าและสร้างองค์ความรู้ เรื่องปริมาณการใช้สารเคมีของเกษตรกร ในตำบลบุ่งคล้า          อำเภอหล่มสัก จังหวัดเพชรบูรณ์
 
จุดมุ่งหมายของการศึกษาค้นคว้า
 
          การศึกษาค้นคว้าและองค์ความรู้ เรื่อง ปริมาณการใช้สารเคมีในการเกษตรของเกษตรกร                ในตำบลบุ่งคล้า โดยข้าพเจ้าและกลุ่มของข้าพเจ้ามีจุดมุ่งหมายดังนี้
๑. เพื่อศึกษาปริมาณการใช้สารเคมีของเกษตรกร
๒. เพื่อศึกษาที่มาของปัญหาและผลกระทบ
 
ความสำคัญของการศึกษา
 
การศึกษาค้นคว้าและองค์ความรู้ เรื่อง ปริมาณการใช้สารเคมีในการเกษตรของเกษตรกร                ในตำบลบุ่งคล้า กรณีในการใช้สารเคมี เข้าใจปัญหาเกี่ยวกับใช้สารเคมีของเกษตรกรในการทำการเกษตร ปริมาณการใช้สารเคมี และสามารถแก้ปัญหาเกี่ยวกับปริมาณของการใช้สารเคมีได้
ขอบเขตในการศึกษาค้นคว้า
การศึกษาค้นคว้าและองค์ความรู้ เรื่อง ปริมาณการใช้สารเคมีในการเกษตรของเกษตรกร                ในตำบลบุ่งคล้า อำเภอหล่มสัก จังหวัดเพชรบูรณ์ กรณีศึกษาค้นคว้า โดยนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๔ ปีการศึกษา ๒๕๖๐ ทางกลุ่มได้กำหนดขอบเขตดังต่อไปนี้
ขอบเขตด้านเนื้อหา
  1. ความหมายของสารเคมี
  2. ประเภทของสารเคมี
  3. ปริมาณการใช้สารเคมีของเกษตรกร ในประเทศไทย
  4. ผลกระทบจากสารเคมีต่อสุขภาพของผู้ผลิตและผู้บริโภค
  5. วิกฤตการณ์
  6. ปริมาณการใช้สารเคมี
  7. สาเหตุการใช้สารเคมีในการทำการเกษตรของเกษตรกร ในตำบลบุ่งคล้า
ขอบเขตประชากรและกลุ่มตัวอย่าง
          ประชากรในการศึกษา ได้แก่ ตำบลบุ่งคล้า หมู่ที่๑ มีจำนวน ๘๐ ครัวเรือน
          กลุ่มตัวอย่างในการศึกษาค้นคว้า ได้แก่ ตำบลบุ่งคล้า หมู่ที่๑ มีจำนวน ๘๐ คน
ตัวแปรการศึกษา
ตัวแปรต้น
๑. เพศ
๒. อายุ
๓. การประกอบอาชีพ
๔. ผลกระทบของสารเคมี
ตัวแปรตาม
          ปัญหาปริมาณการใช้สารเคมีในการเกษตรของเกษตรกร ในตำบลบุ่งคล้าและผลกระทบที่เกิดจากใช้สารเคมี
 
ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ
 
การศึกษาค้นคว้าและองค์ความรู้ เรื่อง ปริมาณการใช้สารเคมีในการเกษตรของเกษตรกร                ในตำบลบุ่งคล้า กรณีศึกษาค้นคว้า นักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่๔ ปีการศึกษา ๒๕๖๐
๑. ได้ศึกษาปริมาณการใช้สารเคมีของเกษตรกร
๒. ได้ศึกษาที่มาของปัญหาและผลกระทบ
 
นิยามศัพท์เฉพาะ
 
          การศึกษาค้นคว้าและองค์ความรู้ เรื่อง ปริมาณการใช้สารเคมีในการเกษตรของเกษตรกร                ในตำบลบุ่งคล้า ทางกลุ่มได้กำหนดนิยามศัพท์เฉพาะ จาการศึกษาค้นคว้าดังต่อไปนี้
          ปริมาณ หมายถึง จำนวนการใช้สารเคมีของเกษตร ในแต่ละปี
          สารเคมี หมายถึง สิ่งที่เกษตรกรใช้ในการทำการเกษตร เพื่อกำจัดศัตรูพืช และยาฆ่าแมลง ที่ธาตุเคมีตั้งแต่สองตัวขึ้นไปมาผสมกันทางเคมีในอัตราส่วนที่แน่นอน
          การเกษตร หมายถึง การประกอบอาชีพ เช่น การทำนา ทำสวน ทำไร่
          เกษตรกร หมายถึง ผู้ทำไร่ ทำนา
          ตำบลบุ่งคล้า หมายถึง ตำบลในอำเภอหล่มสัก จังหวัดเพชรบูรณ์ ที่อยู่ในประเทศไทย
          เพศ หมายถึง เพศชายหรือเพศหญิง
          อายุ หมายถึง อายุระหว่าง ๓๐-๖๐ปี
          การประกอบอาชีพ หมายถึง การทำงานเพื่อเลี้ยงชีพ
          ผลกระทบ หมายถึง ผลกระทบของสารเคมีต่อสุขภาพของผู้ผลิต และผู้บริโภค

 

เข้าดู : 340 ครั้ง