ฟรี
  • I30201 (Independent Study : IS1)
    เว็บไซต์การจัดการเรียนการสอนของครูมิตรสัน (บทเรียนออนไลน์) โรงเรียนเพชรพิทยาคม ต.ในเมือง อ.เมืองเพชรบูรณ์ จ.เพชรบูรณ์ 67000

ตัวอย่างการเขียนบทที่ 2 (ศึกษา)

บทที่ 2
วรรณกรรมที่เกี่ยวข้อง
 
การศึกษาค้นคว้าและสร้างองค์ความรู้ เรื่อง  ผลกระทบจากบ่อขยะของหมู่บ้านโนนกระต่าย ตำบลวังชมภู อำเภอเมือง จังหวัดเพชรบูรณ์ ทางกลุ่มได้ศึกษาวรรณกรรมที่เกี่ยวข้อง ดังนี้
1.  ความหมายของมลพิษที่เกิดจากบ่อขยะ
2.  ประเภทของขยะ
3.  ปัจจัยที่ทำให้เกิดภาวะโลกร้อน
4.  ผลกระทบของมลพิษจากบ่อขยะ
5.  ทฤษฎีการกำจัดขยะ
 
ความหมายของมลพิษที่เกิดจากบ่อขยะ
          พระราชบัญญัติสาธารณสุข พ.ศ. 2535 ให้คำจำกัดความ มูล ฝอย หมายถึง สิ่งต่าง ๆ ที่เราไม่ต้องการ ที่เป็นของแข็งหรืออ่อน มีความชื้น ได้แก่ เศษกระดาษ เศษผ้า เศษอาหาร ถุงพลาสติก ภาชนะกล่องใส่อาหาร เถ้า มูลสัตว์ หรือซากสัตว์รวมตลอดถึงวัตถุอื่น สิ่งใดที่เก็บกวาดได้จากถนน ตลาด ที่เลี้ยงสัตว์หรือที่อื่น
ตามพระราชบัญญัติส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อม พ.ศ. 2535 ให้คำจำกัดความของคำว่า ของเสีย หมายความว่า ขยะมูลฝอย สิ่งปฏิกูล น้ำเสีย อากาศเสีย มลสารหรือวัตถุอันตรายอื่นใด ซึ่งถูกปล่อยทิ้งหรือมีที่มาจากแหล่งกำเนิดมลพิษ รวมทั้งกากตะกอนหรือสิ่งตกค้างจากสิ่งเหล่านั้น ที่อยู่ในสภาพของแข็งของเหลวหรือก๊าซในทางวิชาการจะใช้คำว่า ขยะมูลฝอย ซึ่งหมายถึง บรรดาสิ่งของที่ไม่ต้องการ   ใช้แล้ว ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นของแข็ง จะเน่าเปื่อยหรือไม่ก็ตาม รวมตลอดถึง เถ้า ซากสัตว์ มูลสัตว์ ฝุ่นละออง และเศษวัตถุที่ทิ้งแล้วจากบ้านเรือน ที่พักอาศัย สถานที่ต่าง ๆ รวมถึงสถานที่สาธารณะ ตลาดและโรงงานอุตสาหกรรม ยกเว้น อุจจาระ และปัสสาวะของมนุษย์ ซึ่งเป็นสิ่งปฏิกูล วิธีจัดเก็บและกำจัดแตกต่างไปจากวิธีการจัดขยะมูลฝอย ปัจจุบัน วิทยาการก้าวหน้า ประชากรเพิ่มอย่างรวดเร็ว อัตราการใช้ที่ดินเพิ่มขึ้นเพื่อผลิตเครื่องอุปโภค บริโภค อาหาร ที่อยู่อาศัย เป็นเหตุให้เศษสิ่งเหลือใช้มีปริมาณมากขึ้น ก่อให้เกิดปัญหาของขยะมูลฝอย
          ขยะ หรือ มูลฝอย หรือ ของเสีย เป็นเหตุสำคัญประการหนึ่งที่ก่อให้เกิดปัญหาสิ่งแวดล้อม และ มีผลต่อสุขภาพอนามัย มูลฝอยหรือของเสียกำลังมีปริมาณเพิ่มมากขึ้นทุกปี เพราะสาเหตุจากการเพิ่มของประชากร การขยายตัวทางเศรษฐกิจและทางอุตสาหกรรม นับเป็นปัญหาที่สำคัญของชุมชนซึ่งต้องจัดการและแก้ไข ปริมาณกากของเสียและสารอันตราย ได้แก่ ขยะมูลฝอย สิ่งปฏิกูล และสารพิษที่ปนเปื้อนอยู่ในแหล่งน้ำ ดิน และอากาศ ตลอดจนบางส่วนตกค้างอยู่ในอาหาร ทำให้ประชาชนทั่วไปเสี่ยงต่ออันตรายจากการเป็นโรคต่าง ๆ เช่น โรคมะเร็ง และ โรคผิดปกติทางพันธุกรรม เป็นต้น
            สถานที่บางแห่งก็มีคนทิ้งขยะกันตามสะดวก โดยนำไปเทกองรวมกันไว้ ริมทางเดินบ้าง โคนต้นไม้บ้าง ทำให้มีการหมักหมมเน่าเปื่อยสิ่งกลิ่นเหม็นคลุ้ง บางครั้งอาจมองเห็นหนอนจำนวนมากมายไต่ยั้วเยี้ยออกมาจากกองขยะ ดูน่าขยะแขยง นอกจากนั้นกองขยะยังเป็นแหล่งชุมนุมของสัตว์นำโรคสารพัดชนิด เช่น ยุง แมลงวัน หนู แมลงสาบ ฯลฯ ยามที่ฝนตกลงมาน้ำฝนก็ชะเอาสิ่งสกปรกเน่าเหม็นในกองขยะไหลไปยังพื้นที่ใกล้เคียง และอาจจะไหลลงท่อระบายน้ำ และแม่น้ำ   ลำคลองใกล้ ๆ อีกด้วย
          การทิ้งขยะลงท่อระบายน้ำทำให้เกิดผลเสียอย่างร้ายแรง คือ ทำให้ท่อระบายน้ำอุดตัน เมื่อฝนตกก็ไม่สามารถระบายน้ำฝนได้ จึงเกิดสภาพน้ำท่วมขังตามถนนสายต่าง ๆ ตามตรอกซอกซอย และผลที่ตามมาก็คือ การเดินทางไปมาตามเส้นทางเหล่านั้นลำบากขึ้น การจราจรก็ติดขัดและถนนหนทางอาจจะได้รับความ เสียหาย ซึ่งเมื่อน้ำลดลงสู่สภาพปกติก็ต้องซ่อมแซมใหม่ ทำให้ต้องสิ้นเปลืองงบประมาณ
          บ้านเรือนที่มีขยะมูลฝอยรกรุงรังอยู่ภายในบ้านเรือนบริเวณบ้าน นอกจากจะดูสกปรกไม่น่าดูอยู่แล้ว ก็ยังเป็นที่ชุมนุมของหนู แมลงวัน แมลงสาบ ซึ่งเป็นพาหะนำโรคทางเดินอาหารมาสู่คน และยังก่อความรำคาญให้อีกด้วย
 
ประเภทของขยะ
          ขยะในบ้านแบ่งออกเป็น 4 ประเภทใหญ่ ๆ โดยคุณควรจะคัดแยกและทิ้งชนิดของขยะแต่ละประเภทลงในถังขยะที่ถูกต้อง
1. ขยะเปียก คือขยะย่อยสลายง่าย มีความชื้น มีกลิ่น และเน่าเสียได้ง่าย ส่วนใหญ่จึงมักเป็นขยะที่พบได้ในห้องครัว เช่น เศษเหลืออาหาร เปลือกผลไม้ คุณควรทิ้งขยะเปียกใส่ถังเฉพาะ และนำไปทิ้งนอกบ้านทุกวัน หรือจะลองเอาหมักเป็นปุ๋ยธรรมชาติก็ได้
2. ขยะรีไซเคิล คือขยะที่สามารถนำกลับมาใช้หรือแปรรูปใหม่ได้ ไม่ว่าจะเป็น แก้ว ขวดน้ำ กระดาษ กระป๋อง เมื่อใช้อุปกรณ์หรือผลิตภัณฑ์เสร็จ คุณควรล้างหรือเช็ดให้สะอาด แล้วใส่ลงในถังขยะรีไซเคิลที่แยกไว้ เพื่อนำมาใช้ใหม่ หรือนำไปบริจาคต่อไป
3. ขยะอันตราย คือขยะที่มีสารเคมีหรือสารอันตรายปนเปื้อน ซึ่งสามารถก่ออันตรายให้กับคนและสิ่งแวดล้อมได้ เช่น หลอดไฟฟลูออเรสเซนส์ ถ่านไฟ และแบตเตอรี่ โดยคุณควรรวบรวมในถุงแยกออกจากชนิดของขยะอื่น ๆ และนำไปทิ้งในถังขยะสำหรับขยะอันตรายเท่านั้น
4. ขยะทั่วไป คือขยะอื่นๆ ที่ไม่เน่าเสีย ไม่อันตราย แต่ก็นำมารีไซเคิลใช้ใหม่ไม่ได้ เช่น ซองขนม หรือกิ่งไม้ ซึ่งคุณสามารถนำมาแยกใส่ถังขยะจากขยะอื่น ๆ เพื่อให้รถขยะมาเก็บต่อไป
 
ข้อดีของการแยกชนิดของขยะ
การแยกขยะรีไซเคิลออกไปใช้ใหม่ หรือการนำขยะเปียกมาแปรรูปเป็นปุ๋ย จะช่วยลดปริมาณขยะในบ้าน แถมยังช่วยลดเวลาการทำงานของเจ้าหน้าที่เก็บขยะ และลดค่าใช้จ่ายในการแยกขยะอีกด้วย นอกจากนี้ การขายขยะรีไซเคิลยังสามารถสร้างรายได้เล็กๆ น้อยๆ คุณยังสามารถนำขยะไปบริจาคเพื่อช่วยเหลือสังคม เช่น การบริจาคฝากระป๋องเพื่อนำไปทำขาเทียม เป็นต้น การกำจัดขยะอย่างถูกวิธีจะเป็นการช่วยรักษาสิ่งแวดล้อม ลดมลพิษในการเผากระดาษ หรือลดปริมาณพลาสติกที่นำไปฝังดิน จนกลายเป็นปัญหาสิ่งแวดล้อมได้
          ตอนนี้คุณก็รู้ข้อดีของการแยกขยะ และขยะมีกี่ประเภท อะไรบ้าง ตอนนี้ก็ถึงเวลาแยกขยะให้เหมาะสมกับประเภทขยะ และทำการทิ้งหรือกำจัดขยะอย่างเหมาะสม คุณสามารถศึกษา วิธีกำจัดกับขยะที่บ้านเพื่อช่วยให้บ้านของคุณสะอาด และลดขยะให้โลกใบนี้กันได้เลย
 
ปัจจัยที่ทำให้เกิดภาวะโลกร้อนจากบ่อขยะ
ภัยธรรมชาติที่หลายคนรู้จักเป็นอย่างดี ‘ภาวะโลกร้อน’ ภัยธรรมชาติที่เกิดขึ้นจากการสะสมของก๊าซเรือนกระจกในชั้นบรรยากาศที่มากเกินไป ทำให้รังสีความร้อนจากดวงอาทิตย์ที่ส่องมายังโลก ไม่สามารถสะท้อนกลับออกไปได้ดีเช่นเดิม ทำให้อุณหภูมิโดยเฉลี่ยของโลกสูงขึ้น จึงไปกระทบต่อภูมิอากาศ ปริมาณฝน ระดับน้ำทะเลแปรปรวนอย่างมาก ไม่ว่าจะเป็นฝนหลงฤดู อากาศที่ร้อนจัด อากาศที่หนาวจัดจนทำให้เกิดหิมะตกเป็นครั้งแรกในหลายๆ พื้นที่ พายุฝนรุนแรง เกิดอุทกภัย โรคระบาด แมลงศัตรูพืชระบาดรุนแรง อีกทั้งยังส่งผลกระทบต่อพืช สัตว์ และมนุษย์อีกด้วย ยิ่งนับวันภัยธรรมชาตินี้ยิ่งรุนแรงมากขึ้นเรื่อยๆ ซึ่งตัวการหลักของการเกิดภัยธรรมชาติ นี้ก็น่าจะหนีไม่พ้น ‘ก๊าซเรือนกระจก’ ที่ประกอบด้วย
1. ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ : เกิดจากการเผาไหม้และกระบวนการที่ก่อให้เกิดความร้อนต่างๆ
2. ก๊าซมีเทน : เกิดจากการย่อยสลายแบบไม่ใช้ออกซิเจน
3. ก๊าซไนตรัสออกไซด์ : เกิดจากกระบวนการเผาไหม้และการย่อยสลาย
หลายคนอาจไม่รู้ว่าจริงๆ แล้ว ‘ขยะ’ ที่เกิดจากที่เรากิน เราใช้นั้นก็มีส่วนที่ส่งผลให้โลกของเราต้องเผชิญหน้ากับ ‘ภาวะโลกร้อน’ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในขั้นตอนของการจัดการขยะที่มีการปล่อยก๊าซเรือนกระจกออกมา ไม่ว่าจะเป็นการเก็บขนขยะ การเผาขยะ การหมักปุ๋ย ทำให้เกิดก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ หรือการฝังกลบ การหมักก๊าซชีวภาพ ทำให้เกิดก๊าซมีเทน เป็นต้น ตัวอย่างเช่น ถุงพลาสติก ถ้าเรายิ่งใช้มากเท่าไหร่ ปริมาณคาร์บอนไดออกไซด์ที่จะลอยขึ้นสู่ชั้นบรรยากาศโลกจากการเผาไหม้ในกิจกรรมการผลิต และการเผาทำลายถุงพลาสติกก็จะยิ่งสูงมากขึ้น เพราะถุงพลาสติก 1 ใบ จะต้องใช้เวลาย่อยสลายถึง 500 ปี ซึ่งถ้าเอาไปเผาก็จะทำให้เกิดสารประกอบไฮโดรคาร์บอน ที่เป็นตัวการสำคัญของการเกิด ‘ภาวะโลกร้อน’
วิธีการลดปริมาณการเกิดก๊าซเรือนกระจกจากระบบการกำจัดขยะนั้นมีหลากหลายวิธี     ไม่ว่าจะนำก๊าซชีวภาพจากบ่อฝังกลบมาใช้เป็นพลังงาน ลดการฝังกลบขยะอินทรีย์ด้วยการส่งเสริมให้แยกขยะอินทรีย์ไปใช้ประโยชน์ เช่น เลี้ยงสัตว์ ทำปุ๋ยหมัก หมักก๊าซชีวภาพ ฯลฯ ใช้ระบบบำบัดขยะด้วยเครื่องจักรกลและกระบวนการชีวภาพ (MBT) สำหรับขยะที่มีอินทรีย์วัตถุปนเปื้อน เป็นต้น แต่หลายคนอาจไม่รู้ว่า ‘การแยกขยะ’ ก็เป็นอีกวิธีหนึ่งที่ช่วยแก้ไขปัญหาภาวะโลกร้อนได้ตั้งแต่ต้นทาง เพราะถ้าทุกคนเริ่มต้นแยกขยะกันตั้งแต่ต้นทาง ขยะบางชนิดก็จะสามารถเวียนกลับมาใช้ซ้ำ หรือนำไปแปรรูปใช้ใหม่ได้ อีกทั้งการช่วยลดการใช้ทรัพยากรธรรมชาติ ก็จะช่วยให้ปริมาณขยะ  ที่ต้องส่งไปกำจัดหรือทำลายนั้นน้อยลง และปริมาณการเกิดก๊าซเรือนกระจกก็น้อยลงเช่นกัน
 
ผลกระทบของมลพิษของบ่อขยะ
1. อากาศเสีย เกิดจากการเผาขยะกลางแจ้งก่อให้เกิดควันและสารพิษทางอากาศ ทําให้คุณภาพอากาศเสื่อมโทรม
2. น้ำเสีย เกิดจากการกองขยะบนพื้น เมื่อฝนตกลงมาบนกองขยะ จะเกิดน้ำเสียมีความ สกปรกมากไหลลงสู่แม่น้ำ
3. แหล่งพาหะนําโรค เกิดจากการกองขยะบนพื้น ทําให้เกิดแหล่งเพาะพันธุ์ของหนูและ แมลงวัน เป็นต้น ซึ่งเป็นพาหะนําโรคติดต่อ ทําให้มีผลกระทบต่อสุขภาพ อนามัยของ ประชาชน 
4. เหตุรําคาญและความไม่น่าดู เกิดจากการเก็บขนขยะไม่หมด รวมทั้งการกองขยะบนพื้น ส่งกลิ่นเหม็นรบกวนประชาชนและเกิดภาพไม่สวยงาม ไม่เป็นสุนทรียภาพ นอกจากปัญหาสิ่งแวดล้อมข้างต้นแล้ว ขยะยังเป็นตัวการสําคัญสําหรับปัญหาการจัดการขยะของหน่วยงานที่รับผิดชอบ ซึ่งจะต้องเพิ่มปริมาณบุคลากร อุปกรณ์การจัดการขยะรวมทั้ง การให้ความรู้ทางวิชาการและเทคโนโลยีแก่เจ้าหน้าที่เพิ่มขึ้นตามการเพิ่มขึ้นของปริมาณขยะ
 
ทฤษฎีการกำจัดขยะ
โดยอาศัยหลัก 5 R คือ 
1.  Reduce การลดปริมาณขยะ โดยลดการใช้ผลิตภัณฑ์ที่มีบรรจุภัณฑ์สิ้นเปลือง 
2.  Reuse การนำมาใช้ซ้ำ เช่น ขวดแก้ว กล่องกระดาษ กระดาษพิมพ์หน้าหลัง เป็นต้น 
3.  Repair การซ่อมแซมแก้ไขสิ่งของต่างๆ ให้สามารถใช้งานต่อได้ 
4.  Reject การหลีกเลี่ยงใช้สิ่งที่ก่อให้เกิดมลพิษ 
5.  Recycle การแปรสภาพและหมุนเวียนนำกลับมาใช้ได้ใหม่ โดยนำไปผ่านกระบวนการผลิตใหม่อีกครั้ง 
การแยกขยะ เพื่อลดขยะที่ต้องนำไปกำจัดจริงๆ ให้เหลือน้อยที่สุด เช่น 
1. ขยะแห้งบางชนิดที่สามารถแปรสภาพนำมากลับมาใช้ได้อีก ได้แก่ ขวดแก้ว โลหะ พลาสติก 
2. ขยะเปียกสามารถนำมาหมักทำปุ๋ยน้ำชีวภาพ 
3. ขยะอันตราย เช่น หลอดไฟ ถ่านไฟฉาย กระป๋องฉีดสเปรย์ ต้องมีวิธีกำจัดที่ปลอดภัย ส่งเสริมการผลิตที่สะอาดในภาคการผลิต โดยลดการใช้วัสดุ ลดพลังงาน และลดมลพิษ เพิ่มศักยภาพการใช้ทรัพยากรหมุนเวียน การนำของเสียกลับมาใช้ประโยชน์ และการออกแบบผลิตภัณฑ์ให้มีอายุการใช้งานได้นานขึ้น ส่งเสริมให้ภาคธุรกิจเอกชนมีส่วนรวมลงทุนและดำเนินการจัดการขยะ ให้ความรู้แก่ประชาชนในเรื่องการจัดการขยะอย่างถูกหลักวิชาการ รณรงค์และประชาสัมพันธ์ เพื่อสร้างจิตสำนึกให้ประชาชนเข้าใจและยอมรับว่าเป็นภาระหน้าที่ของตนเอง ในการร่วมมือกันจัดการขยะมูลฝอย ที่เกิดขึ้นในชุมชน 
หลักเกณฑ์ มาตรฐาน ภาชนะรองรับขยะมูลฝอย 
1. ภาชนะรองรับขยะมูลฝอย 
1) ถังขยะ 
เพื่อให้การจัดเก็บรวบรวมขยะมูลฝอยเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและลดการปนเปื้อนของขยะมูลฝอยที่มีศักยภาพในการนำกลับมาใช้ประโยชน์ใหม่จะต้องมีการตั้งจุดรวบรวมขยะมูลฝอย (Station) และให้มีการแบ่งแยกประเภทของถังรองรับขยะมูลฝอยตามสีต่าง ๆ โดยมีถุงบรรจุภายในถังเพื่อสะดวกและไม่ตกหล่น หรือแพร่กระจาย ดังนี้ 
สีเขียว รองรับขยะที่เน่าเสียและย่อยสลายได้เร็ว สามารถนำมาหมักทำปุ๋ยได้ เช่น ผัก ผลไม้ เศษอาหาร ใบไม้ 
สีเหลือง รองรับขยะที่สามารถนำมารีไซเคิลหรือขายได้ เช่น แก้ว กระดาษ พลาสติก โลหะ 
สีเทาฝาสีส้ม รองรับขยะที่มีอันตรายต่อสิ่งมีชีวิต และสิ่งแวดล้อม เช่น หลอดฟลูออเรสเซนต์ ขวดยา ถ่านไฟฉาย กระป๋องสีสเปรย์ กระป๋องยาฆ่าแมลง ภาชนะบรรจุสารอันตรายต่าง ๆ 
สีฟ้า รองรับขยะย่อยสลายไม่ได้ ไม่เป็นพิษและไม่คุ้มค่าการ      รีไซเคิล เช่น พลาสติกห่อลูกอม ซองบะหมี่สำเร็จรูป ถุงพลาสติก โฟมและฟลอยด์ที่เปื้อนอาหาร 
นอกจากนี้ยังมีถุงพลาสติกสำหรับรองรับขยะมูลฝอยในแต่ละถัง โดยมัดปากถุงสีเดียวกับถังที่รองรับมูลฝอยตามประเภทดังกล่าวข้างต้น 
ในกรณีที่สถานที่มีพื้นที่จำกัดในการจัดวางภาชนะรองรับขยะมูลฝอยและมีจำนวนคนที่ค่อนข้างมากในบริเวณพื้นที่นั้น เช่น ศูนย์การประชุมสนามบิน ควรมีถังที่สามารถรองรับขยะมูลฝอยได้ทั้ง 4 ประเภทในถังเดียวกัน โดยแบ่งพื้นที่ของถังขยะมูลฝอยออกเป็น 4 ช่อง และตัวถังรองรับขยะมูลฝอยทำด้วยสแตนเลส มีฝาผิดแยกเป็น 4 สีในแต่ละช่องตามประเภทของขยะมูลฝอยที่รองรับ ดังนี้ 
ฝาสีเขียว  รองรับขยะมูลฝอยที่เน่าเสียและย่อยสลายได้เร็ว 
ฝาสีเหลือง  รองรับขยะมูลฝอยที่สามารถนำรีไซเคิล หรือขายได้ 
ฝาสีแดง  รองรับขยะมูลฝอยที่มีอันตรายต่อสิ่งมีชีวิตและสิ่งแวดล้อม 
ฝาสีฟ้า  รองรับขยะมูลฝอย ที่ย่อยสลายไม่ได้ ไม่เป็นพิษและไม่คุ้มค่าการรีไซเคิลและมีสัญลักษณ์ข้างถัง 
2) ถุงขยะ 
สำหรับคัดแยกขยะมูลฝอยฝนครัวเรือนและจะต้องมีการคัดแยกรวบรวมใส่ถุงขยะมูลฝอยตามสีต่าง ๆ ดังต่อไปนี้ 
ถุงสีเขียว รวบรวมขยะมูลฝอยที่เน่าเสีย และย่อยสลายได้เร็วสามารถนำมาหมักทำปุ๋ยได้ เช่น ผัก ผลไม้ เศษอาหาร ใบไม้ 
ถุงสีเหลือง รวบรวมขยะมูลฝอยที่สามารถนำมารีไซเคิลหรือขายได้ เช่น แก้ว กระดาษ พลาสติก โลหะ อลูมิเนียม 
ถุงสีแดง รวบรวมขยะมูลฝอยที่มีอันตรายต่อสิ่งมีชีวิตและสิ่งแวดล้อม เช่น หลอดฟลูออเรสเซนต์ ขวดยา ถ่านไฟฉาย กระป๋องสีสเปรย์ กระป๋องสารฆ่าแมลง ภาชนะบรรจุสารอันตรายต่าง ๆ 
 
 
ถุงสีฟ้า รวบรวมขยะมูลฝอยที่ย่อยสลายไม่ได้ไม่เป็นพิษและไม่คุ้มค่าการรีไซเคิล เช่น พลาสติกห่อลูกอม ซองบะหมี่สำเร็จรูป ถุงพลาสติก โฟมและฟลอยด์ที่เปื้อนอาหาร 
เกณฑ์มาตรฐานภาชนะรองรับขยะมูลฝอย 
ควรมีสัดส่วนของถังขยะมูลฝอยจากพลาสติกที่ใช้แล้วไม่ต่ำกว่าร้อยละ 50 โดยน้ำหนัก ไม่มีส่วนประกอบสารพิษ (toxic substances) หากจำเป็นควรใช้สารเติมแต่งในปริมาณที่น้อยและไม่อยู่ในเกณฑ์ที่เป็นอันตรายต่อผู้บริโภค มีความทนทาน แข็งแรงตามมาตรฐานสากล มีขนาดพอเหมาะมีความจุเพียงพอต่อปริมาณขยะมูลฝอย สะดวกต่อการถ่ายเทขยะมูลฝอยและการทำความสะอาด สามารถป้องกัน แมลงวัน หนู แมว สุนัข และสัตว์อื่นๆ มิให้สัมผัสหรือคุ้ยเขี่ยขยะมูลฝอยได้ 
 
การลดและการใช้ประโยชน์ขยะมูลฝอย 
การลดปริมาณขยะมูลฝอยให้ได้ผลดีต้องเริ่มต้นที่การคัดแยกขยะมูลฝอยก่อนทิ้ง เพื่อไม่ให้เกิดการปนเปื้อน ทำให้ได้วัสดุเหลือใช้ที่มีคุณภาพสูง สามารถนำไป Reused-Recycle ได้ง่าย รวมทั้งปริมาณขยะมูลฝอยที่จะต้องนำไปกำจัดมีปริมาณน้อยลงด้วย ซึ่งการคัดแยกขยะมูลฝอย ณ แหล่งกำเนิดนั้นต้องคำนึงถึงความเหมาะสมของแต่ละชุมชน เช่น ครัวเรือน ร้านค้า ห้างสรรพสินค้า สำนักงาน บริษัท สถานที่ราชการต่าง ๆ เป็นต้น รวมทั้งปริมาณ และลักษณะสมบัติขยะมูลฝอยที่แตกต่างกันด้วย ทั้งนี้การคัดแยกขยะมูลฝอยสามารถดำเนินการได้ 4 ทางเลือก คือ 
ทางเลือกที่ 1 การคัดแยกขยะมูลฝอยทุกประเภทและทุกชนิด 
ทางเลือกที่ 2 การคัดแยกขยะมูลฝอย 4 ประเภท (Four cans) 
ทางเลือกที่ 3 การคัดแยกขยะสด ขยะแห้ง และขยะอันตราย (Three cans) 
ทางเลือกที่ 4 การคัดแยกขยะสดและขยะแห้ง (Two cans) 
 
 

เข้าดู : 110 ครั้ง