ฟรี
  • ส33212 กฎหมายมรดก (ม.6/13)
    เว็บไซต์การจัดการเรียนการสอนของครูมิตรสัน (บทเรียนออนไลน์) โรงเรียนเพชรพิทยาคม ต.ในเมือง อ.เมืองเพชรบูรณ์ จ.เพชรบูรณ์ 67000

22.หน่วยที่ 2 เรื่องที่ 4 การเสียสิทธิในมรดก

รายวิชาเพิ่มเติม รายวิชา ส33212 กฎหมายมรดก
กลุ่มสาระสังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม   ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6/13 (ศิลป์-สังคม)
โรงเรียนเพชรพิทยาคม อำเภอเมือง จังหวัดเพชรบูรณ์
-----------------------------
ใบความรู้ที่ 3 เรื่อง  ผู้มีสิทธิรับมรดก
 
3. ผู้มีสิทธิรับมรดก
ผู้มีสิทธิรับมรดกของเจ้ามรดกตามกฎหมายแบ่งได้ 3 ประเภท
3.1 ทายาท
3.2 วัด
3.3 แผ่นดิน
3.1 ทายาท ได้แก่
3.1.1 ทายาทโดยธรรม
ทายาทโดยธรรมคือผู้มีสิทธิรับมรดกของเจ้ามรดกโดยผลของกฎหมาย กล่าวคื ในกรณีที่เจ้ามรดกตายโดยไม่ทำพินัยกรรมไว้หรือทำไว้แต่พินับกรรมนั้นไม่มีผลไม่ว่าด้วยเหตุใดๆ กฎหมายก็จะกำหนดว่าใครบ้างเป็นทายาทซึ่งมีสิทธิที่จะรับมรดกของเจ้ามรดกดังกล่าวอันได้แก่ ญาติของผู้ตายและคู่สมรสของผู้ตาย
ทายาทโดยธรรมแบ่งออกเป็น 2 ประเภท
3.1.1.1 ทายาทโดยธรรมที่เป็นญาติ
ทายาทโดยธรรมที่เป็นญาติตามกฎหมาย มี 6 ลำ ดับ แต่ลำดับมีสิทธิรับมรดกก่อนหลังเรียงลำดับดังนี้
1) ผู้สืบสันดาน
2) บิดามารดา
3) พี่น้องร่วมบิดามารดาเดียวกัน
4) พี่น้องร่วมบิดาหรือมารดาเดียวกัน
5) ปู่ ย่า ตา ยาย
6) ลุง ป้า น้า อา
ทายาทโดยธรรมที่เป็นญาติหกลำดับดังกล่าว แยกพิจารณาได้ ดังนี้
1) ผู้สืบสันดาน
ผู้สืบสันดาน หมายถึง ผู้สืบเชื้อสายโดยตรงลงมาทุกชั้นของเจ้ามาดก ซึ่งได้แก่ บุตร หลาน เหลน ลื้อ ของเจ้ามรดก แต่กรณีผู้สืบสันดานต่างชั้นกันตามกฎหมายบุตร ของเจ้ามรดกเป็นผู้สืบสันดานชั้นสนิทที่สุดจึงตัดผู้สืบสันดานในชั้นถัดไป แต่ผู้สืบสันดานในชั้นถัดไปนั้นยังอาจมีสิทธิรับมรดกของเจ้ามรดกได้ก็แต่โดยอาศัยสิทธิใน การรับมรดกแทนที่หรือการสืบมรดกเท่านั้น
สำหรับบุตร หมายถึง บุตรที่ชอบด้วยกฎหมาย ถ้าเจ้ามรดกเป็นบิดาบุตรนั้นต้อง เกิดจากบิดามารดาซึ่งได้จดทะเบียนสมรสกัน แต่ถ้ามารดาเป็นเจ้าของมรดก แม้มารดากับบิดาจะมิได้จดทะเบียนสมรสกัน บุตรนั้นก็เป็นบุตรที่ชอบด้วย กฎหมายของมารดา
บุตรยังรวมถึงบุตรบุญธรรมของเจ้ามรดกด้วย ซึ่งบุตรบุญธรรมดังกล่าวต้อง ได้จดทะเบียนตามกฎหมายแล้วด้วย และรวมถึงบุตรนอกกฎหมายในกรณีที่บิดามารดามิได้จดทะเบียนสมรสกันแต่บิดามีพฤติการณ์รับรอง เช่น ให้ใช้ นามสกุล แจ้งเกิดในสูติบัตรว่าเป็นบิดา ดังนี้บุตรนั้นย่อมเป็นบุตรนอกกฎหมาย ที่บิดารับรองและจึงมีสิทธิรับมรดก หากเป็นเพียงบุตรนอกกฎหมายและบิดาไม่มีพฤติการณ์รับรองย่อมไม่มีสิทธิรับมรดกเลย
2) บิดามรดา
บิดา มารดา หมายถึงบิดามารดาที่ชอบด้วยกฎหมายของเจ้ามรดก ถ้าเป็นบิดาเจ้ามรดก บิดาต้องไปจดทะเบียนสมรสกับมารดาของเจ้ามรดก แต่ถ้าเป็นมารดาของเจ้ามรดก แม้มารดาบบิดาไม่ได้จดทะเบียนสมรสกัน มารดาก็ย่อมเป็นมาดาที่ชอบด้วยกฎหมายของเจ้ามรดกเสมอ
บิดามารดานี้ ไม่หมายรวมถึงผู้รับบุตรบุญธรรม ซึ่งกฎหมายไม่ถือเป็นทายาทโดยธรรมในลำดับที่ 2 ของบุตบุญธรรมและไม่มีสิทธิรับมรดกของเจ้าของมรดกซึ่งเป็นบุตรบุญธรรมตน
3) พี่น้องร่วมบิดามารดาเดียวกัน
พี่น้องร่วมบิดามารดาเดียวกัน หมายถึง พี่น้องซึ่งเกิดมาจากบิดามารดาที่ ชอบด้วยกฎหมายคนเดียวกับเจ้ามรดก
4) พี่น้องร่วมบิดาหรือร่วมมารดาเดียวกัน
พี่น้องร่วมบิดาหรือร่วมมารดาเดียวกัน หมายถึง พี่น้องซึ่งมีแต่เฉพาะบิดา ที่ชอบด้วยกฎหมายคนเดียวดันกับเจ้ามรดก หรือเป็นพี่น้องซึ่งมีแต่เฉพาะมารดาเดียวกันกับเจ้ามรดก
5) ปู่ ยา ตา ยาย
ปู่ ย่า หมายถึงบิดามารดาที่ชอบด้วยกฎหมายของบิดาที่ชอบด้วยกฎหมายของเจ้ามรดก
ตา ยาย หมายถึงบิดามารดาที่ชอบด้วยกฎหมายของมารดาเจ้ามรดก
6) ลุง ป้า น้า อา
ลุง ป้า น้า อา หมายถึงพี่ชาย พี่สาว น้องชาย น้องสาวของ บิดาหรือมารดาโดยชอบด้วยกฎหมายของเจ้ามรดก ไม่รวมถึงลู้ผู้พี่หรือลูกผู้น้องของบิดาหรือมารดาเจ้ามรดกด้วย
ทายาทโดยธรรมที่เป็นญาติซึ่งมีหกลำดับดังกล่าวนั้น เป็นเพียงผู้อาจ จะมีสิทธิมรดกในฐานะทายาทโดยธรรมเท่านั้น มิได้หมายความว่าเมื่อเจ้ามาดกตายแล้ว ทายาทดังกล่าวทุกลำดับมีสิทธิได้รับมรดกของผู้ตายร่วมกัน แต่สิทธิที่จะรับมรดกของทายาทดังกล่าว เป็นไปตามกฎหมายดังนี้
ทายาทโดยธรรมลำดับก่อนตัดทายาทในลำดับหลังหมายความว่า หากทายาทโดยธรรม ลำดับก่อนยังมีชีวิตอยู่หรือมีผู้รับมรดกแทนที่แล้วทายาทโดยธรรมในลำดับ ถัดลงไปจะไม่มีสิทธิรับมรดกของเจ้ามรดก ยกเว้นแต่ผู้สืบสันดานและบิดามารดาของเจ้ามรดกจะไม่ตัดกัน
3.1.1.2 ทายาทโดยธรรมที่เป็นคู่สมรส
คู่สมรส หมายถึง คู่สมรสที่ชอบด้วยกฎหมายของเจ้ามรดกกล่าวคือต้อง ได้จดทะเบียนสมรสกับเจ้ามรดกมีฐานะเป็นทายาท โดยธรรมที่มีสิทธิรับมรดกของเจ้ามรดกเสมอ ทั้งนี้ไม่ว่าเจ้ามรดกจะมีทายาท โดยธรรมที่เป็นญาติดังกล่าวมาในข้อ 3.1.1.1 หรือไม่ก็ตาม
3.1.2 ทายาทโดยพินัยกรรม
ทายาทโดยพินัยกรรม หมายถึง ผู้มีสิทธรับมรดกตามที่พินัยกรรมได้ระบุไว้กล่าวคือขณะที่เจ้ามรดกยังมีชีวิตอยู่ เจ้ามรดกได้ทำพินัยกรรมเกี่ยวกับทรัพย์สินของตนไว้ว่า เมื่อตนตายไปแล้วจะยกทรัพย์สินให้แก่ใคร เป็นจำนวนเท่าใด ซึ่งบุคคลจะได้รับทรัพย์สินตามพินัยกรรมนั้นอาจเป็นบุคคลอื่นที่มิได้เป็นญาติของเจ้ามรดก  ก็ได้
3.1.2.1 ประเภทของทายาทผู้รับพินัยกรรม
1) บุคคลผู้มีสิทธิรับมรดกทั้งหมดของเจ้ามรดกหรือตามเศษส่วน หรือตามส่วนที่เหลือของทรัพย์มรดกซึ่งมิได้แบ่งแยกไว้ต่างเป็นพิเศษจากกองมรดก โดยจะเรียกว่า ผู้รับพินัยกรรมลักษณะทั่วไป
2) บุคคลผู้มีสิทธิรับมรดกเฉพาะสิ่งเฉพาะอย่างซึ่งผู้ทำพินัยกรรม เจาะจงไว้โดยเฉพาะหรือแยกไว้ต่างหากเป็นพิเศษจากกองมรดก โดยจะเรียกว่า ผู้รับพินัยกรรมลักษณะเฉพาะ
3.1.2.2 พินัยกรรม
1) ความหมาย
พินัยกรรม คือ การแสดงเจตนาของเจ้ามรดกในเรื่องเกี่ยวกับทรัพย์มรดก และกิจการของตนก่อนตาย เพื่อให้การแสดงเจตนากำหนดการเผื่อตาย นั้นมีผลต่อเมื่อตนถึงแก่ความตายแล้ว ซึ่งการแสดงเจตนาดังกล่าวต้องได้ทำตามแบบที่กฎหมายกำหนดไว้
2) แบบของพินัยกรรม
การทำพินัยกรรมนั้นกฎหมายกำหนดว่าจะทำ ได้ก็แต่ตามแบบใดแบบหนึ่งดังต่อไปนี้
1) พินัยกรรมแบบธรรมดา
2) พินัยกรรมแบบเขียนเองทั้งฉบับ
3) พินัยกรรมแบบเอกสารฝ่ายเมือง
4) พินัยกรรมแบบเอกสารลับ
5) พินัยกรรมแบบทำด้วยวาจา
3) ผู้ทำพินัยกรรม
บุคคลธรรมดาทั่วๆ ไปสามารถทำพินัยกรรมได้ แต่การทำพินัยกรรมของผู้เยาว์ คนวิกลจริต คนไร้ความสามารถ คนเสมือนไร้ความสามารถ สามีหรือภริยา กฎหมายได้กำหนดไว้ดังนี้
(1) ผู้เยาว์
ผู้เยาว์ทำพินัยกรรมได้เมื่ออายุยังไม่ครบสิบห้าปีบริบูรณ์ หากฝ่าฝืนพินัยกรรมนั้นเป็นโมฆะ
กฎหมายกำหนดให้ผู้เยาว์ซึ่งมีอายุสิบห้าปีบริบูรณ์ขึ้น ไปทำได้โดยไม่ได้รับความยินยอม
(2) คนวิกลจริต
พินัยกรรมซึ่งบุคคลผู้ถูกกล่าวอ้างว่าเป็นคนวิกลจริต แต่ศาลยังไม่ได้สั่งให้เป็นคนไร้ความสามรถทำขึ้นนั้น จะเสียเปล่าตกเป็นโมฆะก็ต้อง เมื่อพิสูจน์ได้ว่าในเวลาทำพินัยกรรมนั้นผู้ทำวิกลจริตอยู่
(3) คนไร้ความสามารถ
คนวิกลจริต ซึ่งศาลมีคำสั่งให้เป็นคนไร้ความสามารถ ซึ่งจะต้องมีผู้อนุบาลซึ่งศาลเป็นผู้ตั้ง แต่ผู้อนุบาลก็ไม่อาจทำพินัยกรรมแทนคนไร้ความสามารถได้ เพราะการทำพินัยกรรมเป็นสิทธิเฉพาะตัว พินัยกรรมซึ่งคนไร้ความสามารถทำขึ้นเป็นโมฆะ
(4) คนเสมือนไร้ความสามารถ
พินัยกรรมซึ่งคนเสมือนไร้ความสามารถทำขึ้น มีผลสมบูรณ์
คนเสมือนไร้ความสามารถ คือบุคคลที่ไม่สามรถจัดทำการงานของตนเองได้ เนื่องจากกายพิการหรือจิตฟั่นเฟือนไม่สมประกอบหรือเพราะประพฤติตนสุรุ่ยสุร่ายเสเพลเป็นอาจิณ หรือเพราะติดสุรายาเมาและสามารถทำการงานของตนได้ แต่ในกาจัดทำกิจการสำคัญๆ จำเป็นต้องได้รับความยินยอมจากผู้พิทักษ์ซึงศาลเป็นผู้ตั้งเสียก่อน
แต่การทำพินัยกรรมของคนเสมือนไร้ความสามารถนั้น ไม่มีกฎหมาย ห้ามหรือวางเงื่อนไขไว้แต่ประการใด คนเสมือนไร้ความสามรถจึงทำพินัยกรรมโดยลำพังตนเอง
(5) สามีหรือภรรยาไม่มีอำนาจมีพินัยกรรมยกสิน สมรสที่เกินกว่าส่วนของตนนั้นไม่มีผล
4) ผู้เขียนและพยานในพินัยกรรม
ผู้เขียนพินัยกรรมและพยานในพินัยกรรมจำเป็นต้องมีในพินัยกรรมแบบธรรมดา พินัยกรรมแบบเอกสารฝ่ายเมือง พินัยกรรมแบบเอกสารลับและพินัยกรรมแบบทำด้วยวาจา ส่วนพินัยกรรมแบบเขียนเองทั้งฉบับผู้ทำพินัยกรรมเป็นผู้เขียนเองโดยไม่ต้องมีพยาน ผู้เขียนพินัยกรรมและพยานในพินัยกรรม รวมทั้งคู่สมรสของบุคคลนั้นๆ จะเป็นผู้รับทรัพย์ตามพินัยกรรมไม่ได้ นอกจากนั้นแล้วนายอำเภอผู้ทำหน้าที่จดข้อความในพินัยกรรมแบบทำด้วยวาจา กฎหมายให้ถือว่าเป็นผู้เขียนพินัยกรรมด้วย         
3.2 วัด
วัดมีสิทธิรับมรดกของภิกษุที่มรณะภาพได้ แม้พระภิกษุมิได้ทำพินัย กรรมยกทรัพย์มรดกของตนให้แก่วัดก็ตาม แต่จะต้องประกอบด้วยเงื่อนไข 2 ประการดังนี้
1) มรดกดังกล่าวต้องเป็นทรัพย์สินที่ภิกษุได้มาระหว่างเวลาที่บวชเป็นพระภิกษุอยู่ ถ้าเป็นทรัพย์สินที่ได้มาก่อนบวชเป็นพระภิกษุก็ไม่เป็นมรดกแก่วัด
2) มรดกดังกล่าวพระภิกษุจะต้องมิได้ทำพินัยกรรมยกให้แก่ผู้ใด และมิได้จำหน่ายไประหว่างที่พระภิกษุยังมีชีวิตอยู่
3) พระภิกษุดังกล่าวจะต้องมีภูมิลำเนาอยู่ที่วัดนั้น
3.3 แผ่นดิน
ในกรณีที่บุคคลใดถึงแก่ความตายลงโดยบุคคลนั้นไม่มีทายาทโดยธรรม และมิได้ทำพินัยกรรมยกมรดกของตนให้แก่ผู้ใด หรือมิได้ทำพินัยกรรมให้จัดตั้งมูลนิธิโดยใช้มรดกของตนเป็นทรัพย์ในการดำเนิน การของมูลนิธิและมรดกของบุคคลนั้นย่อมตกทอดแก่แผ่นดิน
3.3 แผ่นดิน
ในกรณีที่บุคคลใดถึงแก่ความตายลงโดยบุคคลนั้นไม่มีทายาทโดยธรรม และมิได้ทำพินัยกรรมยกมรดกของตนให้แก่ผู้ใด หรือมิได้ทำพินัยกรรมให้จัดตั้งมูลนิธิโดยใช้มรดกของตนเป็นทรัพย์ ในการดำเนินการของมูลนิธิแล้ว มรดกของบุคคลนั้นย่อมตกทอดแก่แผ่นดิน

เข้าดู : 274 ครั้ง