บทที่ 1
การเขียนรายงานการศึกษาค้นคว้า
1.1 บทนำ
การศึกษาในประเทศไทย เป็นการศึกษาที่จัดโดย
กระทรวงศึกษาธิการของประเทศไทย โดยภาครัฐจะเข้ามาดูแลโดยตรงและเปิดโอกาสให้เอกชนมีส่วนร่วมในการศึกษาตั้งแต่ระดับ
การศึกษาปฐมวัยจนถึงระดับ
อุดมศึกษา สำหรับ
การศึกษาภาคบังคับในประเทศไทยนั้นได้กำหนดให้พลเมืองไทยต้องจบการศึกษาอย่างน้อยที่สุดใน
ระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้นและต้องเข้ารับการศึกษาอย่างช้าสุดเมื่ออายุ 7 ปี ซึ่งการศึกษาภาคบังคับนี้เป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาขั้นพื้นฐาน ซึ่งแบ่งออกเป็นระดับชั้นประถมศึกษา 6 ปีและมัธยมศึกษา 6 ปี นอกจากนี้แล้วการศึกษาขั้นพื้นฐานยังรวมถึง
การศึกษาปฐมวัยอีกด้วย ทั้งนี้รัฐจะต้องจัดให้อย่างทั่วถึงและมีคุณภาพโดยไม่เก็บค่าใช้จ่ายตามความใน
รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 ส่วนการบริหารและการควบคุมการศึกษาในระดับอุดมศึกษาจะดำเนินการโดย
สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา ซึ่งเป็นแผนกหนึ่งของ
กระทรวงศึกษาธิการ ในปัจจุบันการศึกษาในประเทศไทยมีทั้งสิ้น 3 รูปแบบ คือ
การศึกษาในระบบการศึกษานอกระบบและ
การศึกษาตามอัธยาศัย
การเรียนการสอนแบบเก่ามุ่งให้ความรู้แก่แก้เด็กเยอะ ส่วนการเรียนอย่างปัจจุบันเด็กวัยรุ่นจะเสียคนมากขึ้นเรื่อยๆ เพราะเรียนแค่ได้ความรู้ ความรู้ที่ได้มา 2 – 3 ปี ก็เก่าแล้ว ใช้ไม่ได้ ความแตกต่างก็คือเด็กยุคใหม่มีความรู้วิ่งเข้ามาหาเค้าเยอะ เรื่องที่เรียนในห้องเรียนที่ยากมาก เพราะเรื่องอื่นน่าสนใจกว่าเยอะ ในศตวรรษนี้เป็นยุคของไอที ความรู้มันเพิ่มขึ้นมหาสารอย่างรวดเร็วมากขึ้นทุกวัน เราตามไม่ทัน เพราะฉะนั้นเราไม่ได้ต้องการแค่นักเรียนที่ท่องเก่ง เรียนเก่งเพียงอย่างเดียว เราอยากได้นักเรียนหรือบัณฑิตที่ใฝ่รู้หมั่นเรียนรู้ รู้วิธีเรียนใหม่ๆ ด้วย ที่เรียกว่า การมีทักษะการเรียนรู้ (Learning skill) พร้อมทั้งการต้องการให้มีทักษะการใช้ชีวิต (Live skill) ในศตวรรษที่ 21 นั้นนอกจากความรู้ในสาระวิชาหลักที่เด็กจะได้รับการสอน คือ ภาษาแม่และภาษาสำคัญของโลก ศิลปะ คณิตศาสตร์ เศรษฐศาสตร์ ภูมิศาสตร์ รัฐและความเป็นพลเมืองที่ดี
การศึกษา เริ่มต้นเมื่อคนเริ่มรู้จักดำเนินชีวิตด้วยปัญญา
ลักษณะของคนมีการศึกษา คือ เป็นผู้ดำเนินชีวิตด้วยปัญญา เพราะฉะนั้นการดำเนินชีวิตด้วยปัญญา จึงเป็นเครื่องแสดงว่าคนผู้นั้นเริ่มมีการศึกษา
ถ้าใครไม่ดำเนินชีวิตด้วยปัญญา ก็แสดงว่ายังไม่มีการศึกษา การดำเนินชีวิตด้วยปัญญา ต้องเริ่มฝึกกัน ตั้งแต่ในชีวิตประจำวัน อาทิอาทิเช่น การกิน การนอน การเล่น เป็นต้น พูดสั้น ๆ ว่า ให้ฝึกการดำเนินชีวิตด้วยปัญญา ถ้ามนุษย์รู้จักบริโภคปัจจัย 4 เริ่มแต่การกินอาหารด้วยปัญญา การศึกษาก็เริ่มต้น คือ กินด้วยความรู้ ความเข้าใจในวัตถุประสงค์ของการกิน ว่ากินเพื่ออะไร ไม่ใช่กินแบบขาดสติ หลงเพลินเรื่อย ๆ เปื่อย ๆ ไปตาม รสอร่อย แต่มีความตระหนักรู้ว่า กินเพื่อบำรุงร่างกายให้เจริญเติบโต กินเพื่อให้สุขภาพแข็งแรง หรือกินเพื่อ
คุณภาพของชีวิต
การกินพอดี เป็นการกินด้วยปัญญา จะพ่วงมาด้วยท่าทีแห่งการมองอาหารในความหมายว่าเป็นปัจจัย การมองอาหาร มองสิ่งของเครื่องใช้ มองวัตถุ มองเทคโนโลยี มองเงินทอง และมองเศรษฐกิจ เป็นปัจจัย คือ เป็นเครื่องเกื้อหนุนชีวิตที่ดีงาม ไม่ใช่มองเป็นจุดหมาย จะมีผลสืบเนื่องในเชิงสร้างสรรค์อีกหลายอย่างกว้างไกล
อย่างน้อยก็จะเป็นการบริโภคที่มีความมั่นใจด้วยปัญญา คนที่บริโภคด้วยปัญญา รู้ว่าตนทำ ถูกต้องตรงความจริงแล้ว จึงมีความมั่นใจด้วยปัญญาและจะไม่หวั่นไหวต่อค่านิยมโก้เก๋ ใครจะชอบไปกินอาหารปรุงแต่งอย่างไรก็รู้ทัน ไม่สนใจ เพราะตัวเองมั่นคงด้วยปัญญา นี่คือการศึกษาได้เริ่มต้นแล้วและเป็นสิ่งที่สังคมไทยต้องการ ปัจจุบัน การกินอาหารและการเสพบริโภคเทคโนโลยีต่าง ๆ ได้หวั่นไหวไปตามค่านิยม ไม่มีความเป็นตัวของตัวเอง ถูกเขาใช้เป็นเครื่องมือล่อเหยื่อ หาผลประโยชน์กันได้เต็มที่ เพราะเป็นการบริโภคอย่างขาดปัญญา
เยาวชนจะต้องมีทักษะสำหรับการออกไปดำรงชีวิตในโลกแห่งศตวรรษที่ 21 ที่เปลี่ยนไปจากศตวรรษที่ 20 และ 19 จึงได้พัฒนาวิสัยทัศน์และกรอบความคิดเพื่อการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ขึ้น สามารถสรุปทักษะสำคัญอย่างย่อๆ ที่เด็กและเยาวชนควรมีได้ว่า
ทักษะการเรียนรู้และนวัตกรรม หรือ 3R และ 4C ซึ่งมีองค์ประกอบ ดังต่อไปนี้
3 R ได้แก่ Reading (การอ่าน), การเขียน (Writing) และ คณิตศาสตร์ (Arithmetic) และ
4 C (Critical Thinking - การคิดวิเคราะห์, Communication การสื่อสาร Collaboration การร่วมมือและCreativity ความคิดสร้างสรรค์ รวมถึงทักษะชีวิตและอาชีพและทักษะด้านสารสนเทศสื่อและเทคโนโลยี และการบริหารจัดการด้านการศึกษาแบบใหม่
1.2 ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับรายงาน
1.2.1 ความหมายของรายงาน
คำว่า
“รายงาน” เป็นคำนาม แปลว่าเรื่องราวที่ไปศึกษาค้นคว้าแล้วนำมาเสนอที่ประชุมครูอาจารย์หรือผู้บังคับบัญชา เป็นต้น เป็นคำกริยา แปลว่า บอกเรื่องราวของการงาน อาทิอาทิเช่น รายงานให้ผู้บังคับบัญชาทราบ (อำไพวรรณ ทัพเป็นไทย อ้างถึงใน พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2542 , 2546 : 953)
รายงาน คือ การเขียนเล่าถึงสิ่งที่ได้พบเห็นหรือได้กระทำมาแล้ว อาทิเช่น การค้นคว้า ทางวิชาการ การไปศึกษานอกสถานที่ การไปพักแรมค่ายเยาวชน การประชุมกลุ่ม การประสบเหตุการณ์ที่สำคัญ (
แบบฝึกการพัฒนาทักษะ. [ออนไลน์].URL: http://www.bangkapi.ac.th/ [ค้นวันที่ 1 พฤศจิกายน 2558]
รายงาน (report) เป็นเอกสารทางวิชาการที่นักเรียนรวบรวมและเรียบเรียงขึ้นจากการศึกษาค้นคว้าเรื่องใดเรื่องหนึ่งเพื่อให้เสริมความรู้และทักษะในรายวิชาที่กำลังศึกษาอยู่ (พูลสุข เอกไทยเจริญ , 2539 : 2)
สรุปได้ว่ารายงานเป็นการนำเสนอเรื่องราวทางวิชาการซึ่งเป็นผลจากการศึกษาค้นคว้าเรื่องใดเรื่องหนึ่งอย่างมีระบบ มีการวิเคราะห์อย่างมีเหตุผล และอ้างอิงหลักฐานที่มาอย่าง มีหลักเกณฑ์แล้วนำมาเรียบเรียงอย่างมีขั้นตอน และเขียนหรือพิมพ์ให้ถูกต้องตามแบบแผนที่กำหนดถือว่ารายงานเป็นส่วนหนึ่งของการประเมินผลการศึกษา
1.2.2 ประเภทของรายงาน รายงานโดยทั่ว ๆ ไปแบ่งออกเป็น 2 ประเภทใหญ่ ได้แก่ รายงานทั่วไปและรายงานทางวิชาการ
1. รายงานทั่วไป เป็นรายงานที่เสนอข้อเท็จจริงในเรื่องต่าง ๆ ที่เกี่ยวกับองค์การสถาบัน
หรือข้อคิดเห็นของบุคคล ความเคลื่อนไหวของเหตุการณ์ สถานการณ์อย่างใดอย่างหนึ่งซึ่งได้ดำเนินการไปแล้ว หรือกำลังดำเนินการอยู่ หรือจะดำเนินการต่อไปเพื่อให้ผู้เกี่ยวข้องทราบ อันได้แก่
- รายงานในโอกาสต่างๆ อาทิอาทิเช่น รายงานแสดงผลงาน เป็นรายงานซึ่งพนักงาน
เจ้าหน้าที่รายงานผลการปฏิบัติงานต่อผู้บังคับบัญชา ผู้ร่วมงานหรือผู้สนใจทราบ ข้อเขียนที่เป็นคำกล่าวรายงานในพิธีเปิด-ปิดการอบรมสัมมนา การแข่งขันกีฬา การประกวด ฯลฯ เป็นการรายงานให้ทราบถึงความเป็นมา ของงาน การดำเนินงาน ผู้ร่วมงาน กำหนดระยะเวลาของงาน และลงท้ายด้วยการเชิญประธานในพิธีกล่าวเปิดหรือปิดงาน
1.2 รายงานการประชุม เป็นคำนามแปลว่า รายละเอียดหรือสาระของการประชุมที่
จดไว้เป็นทางการ (พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2542 , 2546 : 953) เป็นการบันทึกเรื่องราวต่างๆ ที่องค์ประชุมกล่าวถึงตั้งแต่เริ่มประชุมจนสิ้นสุดการประชุม และต้องนำรายงานนี้เสนอให้ที่ประชุมรับรองในการประชุมครั้งต่อไป รายงานการประชุมเป็นเอกสารที่ใช้อ้างอิงได้จึงต้องใช้ภาษาเป็นทางการ กระชับ รัดกุมและชัดเจน
- รายงานข่าว คือ การรายงานโดยใช้วิธีเขียนหรือพูด เพื่อรายงานเรื่องราวหรือ
เหตุการณ์ที่เกิดขึ้น ผู้รายงานได้แก่ นักหนังสือพิมพ์ นักจัดรายการวิทยุ ผู้ประกาศข่าวทางโทรทัศน์ ฯลฯ
- รายงานเหตุการณ์ เป็นรายงานซึ่งเจ้าพนักงานผู้มีหน้าที่รับผิดชอบเป็นผู้รายงานเพื่อ
บอกเรื่องราวเหตุการณ์หรือสถานการณ์ต่างๆ ที่เป็นอยู่หรือเกิดขึ้นในขณะนั้นเสนอต่อผู้บังคับบัญชาหรือผู้เกี่ยวข้องทราบ ได้แก่ รายงานการอยู่เวรรักษาการณ์ รายงานอุบัติเหตุรถชนกัน รายงานเกิดเหตุเพลิงไหม้ เป็นต้น ซึ่งส่วนมากเป็นการเขียนรายงานอย่างสั้น เป็นการเขียนที่เน้นข้อเท็จจริง และความถูกต้องของข้อมูล ภาษาที่ใช้ควรเป็นภาษาทางการหรือถูกต้องตามหลักไวยากรณ์ กะทัดรัด ชัดเจน ตรงประเด็น และคงเส้นคงวา
2. รายงานทางวิชาการ คือ รายงานผลของการศึกษาค้นคว้าศึกษาเกี่ยวกับเรื่องใดเรื่อง
หนึ่งมุ่งเสนอผลที่ได้ตามความเป็นจริงซึ่งต้องทำตามขั้นตอน มีระบบ มีระเบียบแบบแผนที่เป็นสากล โดยมีหลักฐานและการอ้างอิงประกอบแล้วเขียนหรือพิมพ์ให้ถูกต้องตามรูปแบบที่สถาบันนั้น ๆ กำหนดและถือว่ารายงานเป็นส่วนหนึ่งของการประเมินผลการเรียนการสอนของวิชานั้น ๆ ด้วย
1.2.3 การใช้ภาษาในการเขียนรายงาน
1. ควรใช้ภาษาหรือสำนวนโวหารเป็นของตนเองที่เข้าใจง่ายและถูกต้อง
2. ใช้ประโยคสั้นๆ ให้ได้ใจความชัดเจน สมบูรณ์ ตรงไปตรงมาไม่วกวน
3. ใช้ภาษาที่เป็นทางการไม่ใช้ภาษาพูด คำผวน คำแสลง อักษรย่อ คำย่อ
4. ใช้คำที่มีความหมายชัดเจน ละเว้นการใช้ภาษาฟุ่มเฟือย การเล่นสำนวน
5. ระมัดระวังในเรื่องการสะกดคำ การแบ่งวรรคตอน
6. ระมัดระวังการแยกคำด้วยเหตุที่เนื้อที่ในบรรทัดไม่พอหรือหมดเนื้อที่ในหน้าที่นั้น
เสียก่อน อาทิอาทิอาทิเช่น ไม่แยกคำว่า “ละเอียด” ออกเป็น “ละ” ในบรรทัดหนึ่งส่วน “ละเอียด” อยู่อีกบรรทัดต่อไปหรือหน้าต่อไป
7. ให้เขียนเป็นภาษาไทยไม่ต้องมีคำภาษาอังกฤษกำกับ ถ้าเป็นคำใหม่หรือศัพท์วิชาการ
ในการเขียนครั้งแรกให้กำกับภาษาอังกฤษไว้ในวงเล็บ ครั้งต่อๆ ไปไม่ต้องกำกับภาษาอังกฤษ