ฟรี
  • I30201 (Independent Study : IS1)
    เว็บไซต์การจัดการเรียนการสอนของครูมิตรสัน (บทเรียนออนไลน์) โรงเรียนเพชรพิทยาคม ต.ในเมือง อ.เมืองเพชรบูรณ์ จ.เพชรบูรณ์ 67000

บทที่ 2 การเว้นวรรคในการเขียนรายงานการศึกษาค้นคว้า

บทที่ 2
การเว้นวรรคในการเขียนรายงานการศึกษาค้นคว้า
 
2.1 หลักการเว้นวรรค
ในการเขียนหรือพิมพ์หนังสือไทย การเว้นช่องว่างระหว่างคำ ข้อความหรือประโยคให้ถูกต้องเป็นสิ่งจำเป็นมาก เพราะจะทำให้ข้อเขียนนั้นมีความถูกต้อง แจ่มแจ้ง ชัดเจน และอ่านได้ตรงตามความต้องการของผู้เขียน (สำนักงานราชบัณฑิตยสภา.[ออนไลน์].URL: http://www.royin.go.th/?page_id=629     [ค้นวันที่ 2 พฤศจิกายน 2558]
        วรรค คือ คำ ข้อความ หรือประโยคช่วงหนึ่ง ๆ
        การเว้นวรรค หมายถึง การเว้นช่องว่างระหว่างวรรค
        การเว้นวรรคแบ่งออกเป็น
  1. การเว้นวรรคเล็ก มีระยะห่างระหว่างวรรคประมาณเท่ากับความกว้างของพยัญชนะ
  2. การเว้นวรรคใหญ่ มีระยะห่างระหว่างวรรคประมาณ ๒ เท่าของการเว้นวรรคเล็ก
๑. กรณีที่ต้องเว้นวรรค
๑.๑ การเว้นวรรคใหญ่  เว้นวรรคใหญ่เมื่อจบข้อความแต่ละประโยค
ตัวอย่าง
(๑) นั่งให้เรียบร้อย อย่าไขว่ห้าง
          (๒) วิทยาการเป็นต้นธารให้บังเกิดความรู้และความสามารถในอันที่จะประกอบกิจตาม หน้าที่ได้ดี ความเจริญงอกงามทั้งทางจิตใจและทางวัตถุย่อมเป็นผลสืบเนื่องมาจากวิทยาการ บ้านเมืองจะเจริญหรือเสื่อมก็เนื่องด้วยวิทยาการ
.๒ การเว้นวรรคเล็ก เว้นวรรคเล็ก ในกรณีต่อไปนี้
๑.๒.๑ ในประโยครวมให้เว้นวรรคเล็กระหว่างประโยคย่อยที่มีใจความสมบูรณ์และเชื่อม
กับประโยคอื่น ๆ ที่ขึ้นต้นด้วยคำสันธาน “และ” “หรือ” “แต่”
ตัวอย่าง
(๑) นายแดงอยู่ที่บ้านคุณพ่อของเขาที่ปากน้ำโพ แต่พี่ชายของเขาอยู่ที่บ้านซื้อใหม่ในกรุงเทพฯ
          (๒) การเขียนหนังสือโย้หน้าเย้หลังไม่เป็นระเบียบ หรือการขาดความระมัดระวังในเรื่องช่องไฟ อาจเป็นเครื่องหมายส่อนิสัยของผู้เขียนเองได้
          (๓) พุทธกับไสย แม้ต่างกันเป็นคนละด้าน แต่ก็ไม่เป็นสิ่งขัดแย้งกันในความเชื่อถือของคนชั้นสามัญทั่วไป
แต่ถ้าเป็นประโยคสั้นให้เขียนติดกัน
ตัวอย่าง
(๑) ฉันและเธอไปโรงเรียน
           (๒) เขาอยากได้ดีแต่เขาก็ไม่ได้ดี
           (๓) น้ำขึ้นแต่ลมลง
๑.๒.๒ เว้นวรรคเล็กระหว่างชื่อกับนามสกุล
ตัวอย่าง
  1. นายเสริม วินิจฉัยกุล
๑.๒.๓ เว้นวรรคเล็กหลังคำนำพระนามพระบรมวงศานุวงศ์ พระนามและฐานันดรศักดิ์                 
ตัวอย่าง
(๑) สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ
           (๒) สมเด็จฯ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์
           (๓) สมเด็จฯ เจ้าฟ้าจาตุรนต์รัศมี กรมพระจักรพรรดิพงศ์
           ๑.๒.๔ เว้นวรรคเล็กระหว่างชื่อบริษัท ธนาคาร ฯลฯ กับคำ “จำกัด” ที่อยู่ท้ายชื่อ
ตัวอย่าง
(๑) บริษัทเงินทุนหลักทรัพย์มั่นคง จำกัด
          (๒) ธนาคารทหารไทย จำกัด
๑.๒.๕ เว้นวรรคเล็กระหว่างคำ “ห้างหุ้นส่วนจำกัด” และ “ห้างหุ้นส่วนสามัญนิติบุคคล” กับชื่อ
ตัวอย่าง
(๑) ห้างหุ้นส่วนจำกัด วีวรสิน
          (๒) ห้างหุ้นส่วนจำกัดสามัญนิติบุคคล ปัญญากิจ
๑.๒.๖ เว้นวรรคเล็กระหว่างชื่อสถานที่ต่าง ๆ เช่น ถนน ตำบล/แขวง อำเภอ/เขต จังหวัด
ตัวอย่าง
  1. ราชบัณฑิตยสถาน ในพระบรมมหาราชวัง ถนนหน้าพระลาน
  2. แขวงพระบรมมหาราชวัง เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร ๑๐๒๐๐
๑.๒.๗ เว้นวรรคเล็กระหว่างคำนำหน้านามแต่ละชนิด
ตัวอย่าง
  1. ศาสตราจารย์ นายแพทย์ หม่อมหลวงเกษตร สนิทวงศ์ หรือ ศ. นพ. ม.ล.เกษตร
สนิทวงศ์
2.2 ลักษณะการเว้นวรรค
  1. ส่วนล่างของฟอร์ม
เพื่อให้เกิดความถูกต้องในการสื่อความหมายในการเขียน การเว้นวรรคอย่างถูกต้องจะทำให้ผู้อ่านได้รับข้อมูล ข่าวสาร หรือความคิดเห็นจากผู้เขียนได้สะดวกและถูกต้องอย่างเหมาะสมไม่เบี่ยงเบนไปจากที่ต้องการเสนอให้ทราบ ดังนั้น ผู้เขียนจึงจำเป็นต้องเน้นการเว้นวรรคในการเขียนให้เหมาะสม        ส่วนใหญ่ของหลักการ และข้อเสนอแนะที่จะกล่าวต่อไปนี้ ได้มาจากเนื้อหาที่ปรากฏในหลักเกณฑ์การใช้เครื่องหมายวรรคตอนและเครื่องหมายอื่น ๆ หลักเกณฑ์การเว้นวรรค หลักเกณฑ์การเขียนคำย่อ ที่เป็นเอกสารเผยแพร่ ชุดที่ 4 ของราชบัณฑิตยสถาน ซึ่งพิมพ์เป็นครั้งที่ 5 เมื่อปี 2533 ตลอดจนจาก        ความคิดเห็นของท่านที่มีประสบการณ์ในการจัดพิมพ์หนังสือหลายท่าน ซึ่งส่วนใหญ่เป็นบรรณาธิการวารสารทางวิชาการ และจากประสบการณ์จากการอ่านและตรวจแก้ไข (Proof Reading) ในการจัดพิมพ์วารสาร โดยเฉพาะอย่างยิ่ง วารสารที่มีการใช้เครื่องหมายวรรคตอนในภาษาไทย ไว้ในวารสารวิทยาศาสตร์เกษตร ปีที่ 5 ฉบับที่ 1 หน้า 71 - 78 ซึ่งผู้เขียนส่วนใหญ่แล้ว มักไม่อยากให้มีการใส่เครื่องหมาย     วรรคตอน ที่ช่วยทำให้เกิดการแบ่งข้อความต่าง ๆ ที่ติดต่อกันยืดยาวให้เป็นช่วง ๆ ที่สั้นลงและอ่านได้สะดวกดีขึ้น ดังนั้น การเว้นวรรคอย่างเหมาะสมย่อมเป็นสิ่งที่จำเป็น ทดแทนการใช้เครื่องหมายวรรคตอนได้ และมีความสำคัญในการเขียน รวมทั้งจะทำให้ผู้อ่านเข้าใจได้ถูกต้องดีสามารถติดตามข้อความในประโยคได้เป็นขั้นตอน โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การเว้นวรรคในประโยคที่ยาว เพราะมีส่วนขยายต่าง ๆ (ไพศาล เหล่าสุวรรณ, 2524)
หลักการที่สำคัญในการเว้นวรรคก็คือ เว้นวรรคเมื่อจบประโยค (มีประธานและกริยาหรือภาคแสดงเป็นอย่างน้อย) การเขียนประโยคที่ไม่ยาวเป็นสิ่งที่ควรทำ แต่เมื่อมีการขยายความเกี่ยวกับประธาน กริยาหรือกรรมของประโยค (ซึ่งมักจะทำกันมากในปัจจุบัน) เป็นการรวมหลายประโยคเข้าด้วยกันและ   ส่วนประธานไป โดยจะมีข้อความที่เป็นส่วนขยาย ทำให้เกิดประโยคที่ยาวได้ ดังนั้น ควรเว้นวรรคเพื่อแสดงการขัดจังหวะหรือพักในกระแสความคิด หรือแยกส่วน (อาทิอาทิเช่น แยกส่วนขยาย ออกจากส่วนประธาน และกริยา) โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ภายในโครงสร้างประโยครวม ซึ่งอาจเป็นประโยคที่ยาว ประกอบด้วยหลายประโยคที่เชื่อมด้วยสันธาน “และ” “แต่” “เพราะ” ตลอดจนสรรพนาม “ที่” “ซึ่ง” ที่นำหน้าวลี หรือกลุ่มคำในส่วนขยาย เพื่อมุ่งให้อ่านได้สะดวก และถ้าต้องมีการอ่านออกเสียงด้วย อาทิเช่น ในคำกล่าวในพิธีต่าง ๆ ก็จะช่วยให้ผู้อ่านได้พักเป็นระยะ ๆ อย่างเหมาะสม เป็นต้น
ตัวอย่างในการเว้นวรรค เพื่อแสดงการขัดจังหวะในกระแสความคิด มีดังต่อไปนี้
1) นักเรียนได้รีบตอบคำถามอย่างเต็มที่ แต่ก็ไม่สามารถตอบได้ทั้งหมดภายในเวลาที่จำกัด
2) ผู้ประเมินผลงานยอมรับหลักการในการดำเนิน อย่างไรก็ดี เขาอยากทราบรายละเอียดของการดำเนินงานด้วย
 
นอกจากการเว้นวรรคเพื่อการขัดจังหวะในกระแสความคิดแล้ว ยังมีข้อปลีกย่อยอื่น ๆ ที่ควรพิจารณาควบคู่ไปด้วย ซึ่งคล้ายกับในการเขียนภาษาอังกฤษ ที่มีการใช้เครื่องหมายวรรคตอน ( และจะเว้นหลังเครื่องหมาย . , ; : ! ?) อันเป็นการบ่งถึงการจบประโยค หรือขัดจังหวะ
ก็ควรมีการเว้นวรรค ถึงแม้ว่าเราจะไม่ใส่เครื่องหมายนั้นก็ตาม ดังนั้น ควรเว้นวรรคทั้งหน้า และหลัง “อย่างไรก็ดี (however)” “โดยเฉพาะอย่างยิ่ง (especially)” “ฉะนั้น (therefore)”
ซึ่งมักจะตามด้วย “,” และ นำหน้าประโยค ข้อความ กลุ่มคำ คำ ตลอดจนควรเว้นวรรคทั้งหน้าและหลังคำ หรือวลีดังต่อไปนี้
1. อาทิเช่น ตัวอย่างอาทิเช่น ดังนั้น ดังนี้ ได้แก่ นอกจากนั้น นอกจากนี้ จะเห็นได้ว่า นั่นคือ
2. คือ แสดงให้เห็นว่า สังเกตได้ว่า ปรากฏว่า สมมติว่า อย่างไรก็ตาม อนึ่ง
ถ้าคำ หรือวลีดังกล่าว ต่ออยู่กับประโยคยาว ๆ ตามที่ไพศาล เหล่าสุวรรณ (2524) ได้แนะนำดังที่กล่าวไว้ข้างต้น นอกเหนือไปจากที่กล่าวไว้แล้ว ควรเว้นวรรคตามความเหมาะสม เพื่อให้อ่านได้เข้าใจดีขึ้น รวมทั้งควรแยกประโยค หรือวลี ซึ่งขยายภาคประธาน และภาคแสดง ไว้เป็นสัดส่วนต่างหาก อาทิเช่น
ฝ้าย ซึ่งเป็นพืชที่มีศัตรูมาก ไม่ควรถูกใช้ปลูกโดยกสิกรที่ขาดความเอาใจใส่เป็นอย่างดีและไม่มีความพร้อมในด้านการจัดการศัตรูพืชที่เหมาะสม
ถึงแม้ว่าจะไม่เป็นหลักการอย่างแน่นอนสำหรับทุกคน ซึ่งจะมีความคิดเห็น และประสบการณ์ที่แตกต่างกันไป สิ่งที่น่าจะพิจารณา คือ
1. ควรมีการเว้นวรรคหลังคำวิเศษณ์ “ว่า” ในกรณีที่ข้อความต่อไปเป็นประโยค
2. ควรมีการเว้นวรรคทั้งก่อน และหลัง “ฯลฯ“ “ๆ“ “=“ “ณ” “ธ“ (…) “…”
“–“ “ได้แก่“ “อาทิเช่น“ (ในความหมาย หรือทำหน้าที่บอกรายการและยกตัวอย่าง)
3. ควรมีการเว้นวรรคหน้าคำสันธาน “และ“ (นำหน้าความคล้อยตามกัน)
“หรือ“ (นำหน้าความให้กำหนด หรือเลือกเอา) “แต่“ (นำหน้าความให้กลับกัน หรือแย้งกัน) “เพราะ“ (นำหน้าความที่บอกเหตุ หรือเหตุผล) ที่ทำหน้าที่เชื่อมประโยค อาทิอาทิเช่น เพราะ…..ใช้กับจึง ถึง…….ใช้กับก็ เป็นต้น
4. ควรมีการเว้นวรรคหน้าสรรพนาม “ซึ่ง” “ที่” อันนำหน้าส่วนขยาย (แทนนามหรือข้อความที่อยู่ข้างหน้า อาทิเช่น ขยายประธาน)
5. ควรมีการเว้นวรรคหน้าคำ “เป็นต้น“ ที่อยู่หลังรายการ
6. ควรมีการเว้นวรรคระหว่างกลุ่มคำ ที่บ่งบอกถึงเงื่อนไข เหตุกับผล อาทิเช่น ถ้าฝนตก อากาศจะเย็นลง ถ้าเขาอ่านหนังสือเพียงครึ่งเล่ม ก็รู้เรื่องราวไม่หมด
7. ควรมีการเว้นวรรคระหว่างตัวเลขกับตัวอักษร ตัวอักษรภาษาไทยกับภาษาต่าง ประเทศ
8. ควรมีการเว้นวรรคหน้าอักษรย่อ อาทิเช่น ต้นสักที่ใหญ่ที่สุดอยู่ใน จ.อุตรดิตถ์ และระหว่างกลุ่มอักษรย่อ อาทิเช่น รศ. ดร. เฉลิม รวมทั้งระหว่างยศกับชื่อ อาทิเช่น ร้อยโท พร้อม
9. ควรมีการเว้นวรรคระหว่างรายการต่าง ๆ หลังหน่วยต่าง ๆ รวมทั้งข้างหน้า “และ” “หรือ” ที่นำหน้า เมื่อมีมากกว่า 2 รายการ
 
คงจะมีอีกหลายอย่างที่ควรพิจารณา ที่จะแตกต่างกันไปตามประสบการณ์ของผู้เขียน อาทิเช่น การเว้นวรรคหน้า “ดังต่อไปนี้” “มีดังนี้” ซึ่งจะพบค่อนข้างบ่อย และการไม่เว้นวรรค หรือเว้นวรรคหลัง  คำว่า “คือ” และ “หมายถึง” ขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของผู้เขียนว่า ต้องการ หรือมีการขัดจังหวะในกระแสความคิด หรือไม่อันจะทำให้มีการใช้ หรือเขียนประโยค หรือกลุ่มคำที่ไม่ยืดยาวนัก ได้ใจความที่เหมาะสม อาทิอาทิเช่น ในกรณีที่เป็นกริยา ก็ไม่มีการเว้นวรรค ในประโยค เขาคือกำนันตำบลวังทองหลาง สส. หมายถึงสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร  และมีข้อแนะนำต่าง ๆ กันไป อาทิเช่น ในประโยคที่ยาวมากนั้น ไพศาล เหล่าสุวรรณ (2524) แนะนำให้แยกบทประธาน บทกริยา บทกรรมที่มีบท หรือส่วนขยายยาว ๆ        ออกจากกัน ตัวอย่างประโยค ข้อบกพร่องของเจ้าหน้าที่คือ แต่ละคน กลับบ้านค่อนข้างเร็ว

เข้าดู : 113 ครั้ง