ฟรี
  • I30201 (Independent Study : IS1)
    เว็บไซต์การจัดการเรียนการสอนของครูมิตรสัน (บทเรียนออนไลน์) โรงเรียนเพชรพิทยาคม ต.ในเมือง อ.เมืองเพชรบูรณ์ จ.เพชรบูรณ์ 67000

บทที่ 3 การเสนอหัวข้อและการเขียนโครงร่างการศึกษาและสร้างองค์ความรู้

บทที่ 3
การเสนอหัวข้อและการเขียนโครงร่างการศึกษาและสร้างองค์ความรู้
 
          การศึกษาและสร้างองค์ความรู้ตามกระบวนการเรียนการสอนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย   ตามรายวิชาการศึกษาและสร้างองค์ความรู้ (Research and Knowledge Formation : IS1) จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องมีการเสนอหัวข้อ (เอกสารภาคผนวกหน้า 55 ) 
 
3.1 ความสำคัญของหัวข้อ IS
ปัญหาที่สำคัญสำหรับการเริ่มต้นการทำงานศึกษาค้นคว้าและสร้างองค์ความรู้ คือ การเลือกหัวข้องานที่ต้องการจะศึกษา เพราะว่าหลายคนยังสับสนอยู่ว่าอะไรล่ะคือปัญหา แล้วปัญหาคืออะไรและมีที่มาจากไหนกัน ดังนั้นจึงต้องการที่จะเสนอแนะและให้ข้อคิดเห็นในประเด็นของการเลือกหัวข้อที่เหมาะสมกับตนเอง แหล่งที่มาของหัวข้องานศึกษา หลักเกณฑ์การเลือกหัวข้อปัญหา ลักษณะของปัญหาที่ดี ข้อควรระวังในการเลือกหัวข้อปัญหา การตั้งชื่อหัวข้อปัญหาได้ตามลำดับ
 
3.2 การเลือกหัวข้องานศึกษาค้นคว้าและสร้างองค์ความรู้
นักเรียนหลายคนที่กำลังจะเริ่มต้นทำผลงานการศึกษาค้นคว้าและสร้างองค์ความรู้ซักเรื่อง มักตั้งคำถามกับผู้เขียนว่า ถ้ามีความสนใจที่จะทำการศึกษาซักเรื่อง “ควรทำเรื่องอะไรดี”หากจะตอบตามความคิดของผู้เขียนเอง สามารถแบ่งได้ ดังต่อไปนี้
  1. หัวข้อศึกษาอาจเกิดจากความสนใจ ประสบการณ์ส่วนตัว ภูมิหลังและปัญหาในการทำงาน
อาทิเช่น นักเรียนสายศิลป์-ภาษาฝรั่งเศส ได้เรียนวิชาพื้นฐานและวิชาเพิ่มเติมในกลุ่มภาษาต่างประเทศ ได้แก่ภาษาฝรั่งเศส จึงมีความต้องการศึกษาปัญหาสภาพการเรียนการสอนรายวิชาภาษาฝรั่งเศส เพื่อจะได้นำมาปรับปรุงการเรียนการสอนของนักเรียนสายศิลป์-ภาษาฝรั่งเศส ต่อไป
  1. การอ่านเอกสาร วรรณกรรมที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ ตำรา วารสารวิจัยต่าง ๆ บทความต่างๆที่
เกี่ยวข้อง รายงานการศึกษา เป็นต้น จากการอ่านทบทวนและการวิเคราะห์วิพากษ์วิจารณ์วรรณกรรมเหล่านี้  จะทำให้เราทราบว่า ทำให้เราทราบถึงช่องว่างหรือโอกาสที่จะต่อยอดทางความคิดได้ หรือเรื่องที่ตนเองสนใจที่จะศึกษาหลังจากการได้อ่านผลงานการศึกษาของคนอื่นแล้ว จะได้นำข้อค้นพบจาการศึกษาและข้อเสนอแนะที่ผู้ศึกษาให้ไว้ เพื่อเป็นแนวทางในการต่อยอดความคิด หรือเป็นแนวความคิดเกี่ยวกับเรื่องที่จะทำการศึกษาได้หรือจากการอ่านบทคัดย่อของการศึกษาค้นคว้า เมื่ออ่านแล้วก็จะเกิดแนวความคิดในการเลือกหัวข้อปัญหาการศึกษาได้และทราบว่ามีใครทำการศึกษาอะไรบ้าง
 
3.3 หลักเกณฑ์การเลือกหัวข้อปัญหา 
ผู้ศึกษาควรทราบหลักเกณฑ์ในการเลือกหัวข้อที่จะศึกษา เพื่อที่จะเลือกหัวข้อปัญหาการศึกษาที่ดีและเหมาะสม เกณฑ์ในการคัดเลือกมีดังต่อไปนี้
  1. เลือกจากความสนใจของตนเองเป็นที่ตั้ง ไม่ว่าหัวข้อที่จะทำการศึกษามีความสำคัญมาก
น้อยเพียงใดและกำลังอยู่ในความสนใจของคนทั่วไปหรือไม่ หากผู้ที่จะทำการศึกษาไม่มีความสนใจในหัวข้อนั้น ๆ ก็ไม่ควรที่จะทำการศึกษาหัวข้อนั้น เพราะการศึกษาจำนวนมากไม่สามารถลุล่วงไปได้ด้วยดีด้วยเหตุผลเดียวคือ ผู้ศึกษาไม่มีความสนใจอย่างแท้จริง ความสนใจในเรื่องที่จะทำการศึกษามีความสำคัญมาก เพราะเป็นแรงจูงใจที่จะผลักดันให้ผู้ศึกษาเกิดการติดตามค้นคว้า เพื่อให้โครงการศึกษาได้บรรลุเป้าหมาย ไม่เบื่อหน่ายต่อการแก้ไขปัญหาที่อาจเกิดขึ้น
  1. เลือกปัญหาที่ตรงกับความสามารถของตนเอง การศึกษาเป็นงานที่ต้องอาศัยความรู้ ความ
เข้าใจ และความสามารถในด้านต่าง ๆ อาทิเช่น การเก็บรวบรวมและการวิเคราะห์ข้อมูล ความสามารถในการให้รหัสข้อมูล ความสามรถในการเลือกใช้สถิติวิเคราะห์ และความสามารถในการตีความหมายข้อมูลและอ่านผลที่ได้จาการวิเคราะห์ ความสามารถในด้านต่าง ๆ ที่กล่าวมา ไม่ได้หมายความว่าจะต้องอยู่ในตัวบุคคลเพียงคนเดียว แต่ผู้ศึกษาจะต้องมีความสามารถในการระดมบุคคลที่มีความสามารถต่าง ๆ ให้เข้ามามีส่วนร่วมในการศึกษาในบทบาทและสถานภาพต่าง ๆ อาทิเช่น เป็นผู้ร่วมศึกษาหรือเป็นที่ปรึกษา เพื่อให้งานศึกษาค้นคว้านั้นสำเร็จลุล่วงไปได้ด้วยดี
  1. เลือกปัญหาที่มีคุณค่า ทั้งนี้ปัญหาที่ต้องการทำการศึกษา ควรเป็นการเพิ่มพูนให้เป็นความรู้
ใหม่ และเสริมทฤษฎี อีกทั้งเป็นประโยชน์ในทางการเรียนต่อไป
  1. คำนึงถึงความเหมาะสมในเรื่องของเวลา งบประมาณและกำลังแรงงานของตน ในการ
ทำการศึกษาไม่ว่าจะเป็นเรื่องใดก็ตาม จะต้องสิ้นเปลืองค่าใช้จ่าย เสียเวลาและกำลังแรงงาน ดังนั้นในการตัดสินใจว่าจะทำการศึกษาในหัวข้อใดจะต้องคำนึงถึงว่า หัวข้อนั้น มีความสำคัญมากน้อยเพียงใด ทั้งในตัวของมันเองและเมื่อเปรียบเทียบกับหัวข้ออื่น ๆ
  1. คำนึงถึงสภาพแวดล้อมที่จะเอื้ออำนวยในการทำการศึกษา อาทิเช่น ปัญหานั้นจะได้รับความ
ร่วมมือมากน้อยเพียงใด มีอุปกรณ์หรือเครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลหรือไม่ หรือผู้ศึกษาต้องสร้างขึ้นเอง ปัญหานั้นมีแหล่งค้นคว้าหรือไม่
 
3.4 ลักษณะของปัญหาที่ดี 
ลักษณะของปัญหาที่ดีมี  ดังต่อไปนี้
  1. เป็นเรื่องที่มีความสำคัญ มีประโยชน์ ทำให้เกิดความรู้ใหม่ ๆ และนำไปใช้ปรับปรุงแก้ไขปัญหา
ต่าง ๆ ได้
  1. เป็นปัญหาที่สามารถหาคำตอบได้โดยวิธีการทางวิทยาศาสตร์หรือวิธีการศึกษาค้นคว้าได้
  2. เป็นปัญหาที่หาข้อมูลมาตรวจสอบสมมติฐาน เพื่อหาข้อสรุปได้
  3. เป็นปัญหาที่ให้คำนิยามปัญหาได้
  4. สามารถวางแผนการดำเนินงานตามขั้นตอนต่าง ๆ ไว้ล่วงหน้าและเห็นลู่ทางที่จะทำได้สำเร็จ
  5. ปัญหาที่สนใจต้องไม่เกินกำลังความสามารถของตนเองที่จะทำให้สำเร็จ แม้จะมีอุปสรรค
บางอย่างก็จะสามารถแก้ไขได้
  1. สามารถหาเครื่องมือหรือสร้างเครื่องมือที่มีคุณภาพเพื่อใช้รวบรวมข้อมูลได้
 
3.5 ปัญหาในการศึกษาค้นคว้าที่ดี
โดยสรุปปัญหาในการศึกษาค้นคว้าที่ดีไว้ ดังต่อไปนี้
  1. มีความสัมพันธ์ของตัวแปร
  2. ปัญหาต้องระบุอย่างชัดเจน ไม่กำกวมในลักษณะของคำถาม
  3. การกำหนดปัญหา เพื่อนำไปสู่การทดสอบเชิงประจักษ์ได้ จึงจะนับว่าเป็นปัญหาทาง
วิทยาศาสตร์ นอกจากนี้จะระบุถึงความสัมพันธ์ของตัวแปรแล้วจะต้องเป็นสิ่งที่วัดตัวแปรได้ด้วย
 
3.6 ข้อควรระวังในการเลือกหัวข้อปัญหา 
ผู้เขียนมีข้อแนะนำและข้อควรระวังในการเลือกหัวข้อปัญหา ดังต่อไปนี้
  1. ไม่ควรเลือกปัญหาที่กว้างเกินไป ไม่มีขอบเขตแต่ควรเลือกหัวข้อปัญหาที่แคบแต่มีความลึกซึ้ง
  2. ไม่ควรเลือกปัญหาที่หาข้อยุติไม่ได้
  3. ไม่ควรเลือกปัญหาที่ไม่สามารถหาข้อมูลมาทดสอบได้
  4. ไม่ควรเลือกปัญหาที่ไม่มีสาระสำคัญ
 
3.7 การตั้งชื่อหัวข้อปัญหา 
หัวข้อปัญหาในการศึกษาค้นคว้า  ผู้ศึกษาค้นคว้าต้องกำหนดชื่อหัวข้อปัญหาลงไปให้ชัดเจนว่า ปัญหานั้นคืออะไร ซึ่งการตั้งชื่อหัวข้อปัญหามีแนวทางดังต่อไปนี้
  1. ชื่อปัญหาควรกะทัดรัด และมีความชัดเจน ทำให้ทราบว่า จะศึกษาเรื่องอะไรกับใคร
  2. ชื่อหัวข้อปัญหาที่ดีจะต้องแสดงให้เห็นถึงความสัมพันธ์ของตัวแปรของปัญหานั้น ๆ
  3. ภาษาที่ใช้ต้องมีความชัดเจน อ่านเข้าใจได้ง่าย ถ้ามีศัพท์เทคนิคต้องเป็นศัพท์ที่เป็นที่ยอมรับใน
สาขาวิชานั้น ๆ
  1. การตั้งชื่อหัวข้อปัญหาจะต้องระวังไม่ให้ซ้ำซ้อนกับผู้อื่น แม้ว่าจะศึกษาในประเด็นที่คล้าย ๆ
กันก็ตาม
สรุป การกำหนดหัวข้อสำหรับการศึกษา คือการกำหนดเรื่องที่จะทำ สิ่งที่จะช่วยให้ผู้ทำการศึกษาสามารถผ่านขั้นตอนนี้ของการศึกษาได้ก็คือ
  1. ประสบการณ์ของผู้ที่จะทำการศึกษาเองที่ได้พบปัญหาที่ตนเองอยากหาคำตอบ
  2. การทบทวนวรรณกรรมที่อาจชี้ให้เห็นถึงเรื่องต่าง ๆ ที่ผู้ศึกษาค้นคว้าสนใจอยากจะทำ
  3. การปรึกษาหารือกับผู้เชี่ยวชาญในสาขานั้น ๆ
และโดยผู้เรียนจะต้องเสนอหัวข้อการศึกษาและสร้างองค์ความรู้กับครูผู้สอนหรือครูผู้ควบคุม    เมื่อผ่านการอนุมัติแล้วจึงจะดำเนินการเขียนโครงร่างการศึกษาและสร้างองค์ความรู้ในลำดับต่อไป
 
3.8 การเขียนโครงร่างการศึกษาและสร้างองค์ความรู้
          ผู้ศึกษาค้นคว้าจะต้องดำเนินการเขียนการเขียนโครงร่างการศึกษาและสร้างองค์ความรู้หลังจากเสนอหัวข้อที่จะศึกษากับครูทีปรึกษาหลักหรือครูผู้ควบคุมผ่านแล้ว (เอกสารภาคผนวกหน้า 56-60)   ดังต่อไปนี้
  1. ที่มาและความสำคัญของปัญหา
2.  จุดมุ่งหมายของการศึกษาค้นคว้า
3.  ความสำคัญของการศึกษาค้นคว้า
4.  ขอบเขตการศึกษาค้นคว้า
                   4.1 ขอบเขตด้านเนื้อหา
  1.  ขอบเขตประชากรและกลุ่มตัวอย่าง
4.3 ตัวแปรที่ศึกษา (ถ้ามี)
                             4.3.1 ตัวแปรต้น
                             4.3.2 ตัวแปรตาม       
5. ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ
6. นิยามศัพท์เฉพาะ

เข้าดู : 79 ครั้ง