บทที่ 6
การเขียนเนื้อหารายงาน
การเขียนเนื้อหารายงาน (Text) ในที่นี้ได้ประยุกต์แนวทางของการเรียนรายงานของนักเรียนหรือรายงานวิชาการและโดยกำหนดกรอบการเขียนเนื้อหารายงานไว้ 5 บท โดยสังเขป ดังนี้
6.1 การเขียนบทที่ 1 บทนำ
1.1 ที่มาและความสำคัญของปัญหา
1.2 จุดมุ่งหมายของการศึกษาค้นคว้า
1.3 ความสำคัญของการศึกษาค้นคว้า
1.4 ขอบเขตของการศึกษาค้นคว้า
4.1 ขอบเขตด้านเนื้อหา
4.2 ขอบเขตประชากรและกลุ่มตัวอย่าง
4.3 ตัวแปรที่ศึกษา (ถ้ามี)
4.3.1 ตัวแปรต้น
4.3.2 ตัวแปรตาม
1.5 ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ
1.6 นิยามศัพท์เฉพาะ
6.2 การเขียนบทที่ 2 วรรณกรรมที่เกี่ยวข้อง
ให้จำแนกเป็นด้านต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกันกับเรื่องที่ทำการศึกษา โดยไม่เน้นการตัดแปะเนื้อหาจากงานเขียนของผู้อื่นมาใส่ในส่วนนี้ ควรเป็นการสังเคราะห์จากเอกสาร หนังสือ งานศึกษาต่าง ๆ เพื่อนำมาโยงให้เกี่ยวข้องกับงานศึกษาของนักเรียน ตัวอย่างหัวข้อต่าง ๆ ในการตรวจสอบเอกสาร ดังต่อไปนี้
- องค์ความรู้โดยทั่วไปที่เกี่ยวข้องกับการศึกษาในหัวข้อของตนเอง
- ทฤษฎีหรือแนวคิดที่เกี่ยวข้องกับการศึกษาค้นคว้า
- งานศึกษาที่เกี่ยวข้อง (ถ้ามี)
6.3 การเขียนบทที่ 3 วิธีการดำเนินการศึกษาค้นคว้า
3.1 จุดมุ่งหมายของการศึกษาค้นคว้า
3.2 ประชากรที่ใช้ในการศึกษาค้นคว้า
3.3 วิธีการดำเนินการศึกษาค้นคว้า
3.3.1 ขั้นตอนที่ 1
1. กำหนดเรื่องที่จะศึกษา
2. เลือกเรื่องที่จะศึกษา
3.3.2 ขั้นตอนที่ 2
1. ศึกษาองค์ความรู้เกี่ยวกับหัวข้อ
2. ศึกษาแนวคิด ทฤษฎีที่เกี่ยวข้อง
3.3.3 ขั้นตอนที่ 3
1. การสร้างเครื่องมือโดยวิธีวิเคราะห์ข้อมูล เกณฑ์ในการแปลความหมาย สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล Likert Scale ที่อยู่ใน รูปแบบคะแนนเฉลี่ย (เอกสารภาคผนวกหน้า 66-77)
เกณฑ์การให้คะแนน ดังต่อไปนี้
คะแนน 5 = ระดับมากที่สุด
คะแนน 4 = ระดับมาก
คะแนน 3 = ระดับปานกลาง
คะแนน 2 = ระดับน้อย
คะแนน 1 = ระดับน้อยที่สุด
การแปลค่าคะแนนเฉลี่ยโดยใช้ค่าทางสถิติคะแนนเฉลี่ยเลขคณิต (Arithmetic
Mean) กำหนดช่วงของการวัดจากการยึดเงื่อนไขของการกำหนดคะแนนประจำแต่ละระดับร่วมกับหลักของการปัดทศนิยมให้เป็นจำนวนเต็ม เกณฑ์แปลความหมาย ดังต่อไปนี้
เกณฑ์แปลความหมายค่าเฉลี่ย
ค่าเฉลี่ย ความหมาย
4.50 - 5.00 มากที่สุด
3.50 - 4.49 มาก
2.50 - 3.49 ปานกลาง
1.50 - 2.49 น้อย
1.00 - 1.49 น้อยที่สุด
2. ขอคำปรึกษากับครูที่ปรึกษา Is พร้อมตรวจสอบเครื่องมือ
3.3.4 ขั้นตอนที่ 4
1. นำเครื่องมือเก็บรวบรวมตามกลุ่มเป้าหมาย
2. ตรวจสอบความสมบูรณ์ของเครื่องมือ
3.4 การเก็บรวบรวมข้อมูล
3.5 การการวิเคราะห์ข้อมูล
3.5.1 การวิเคราะห์เชิงพรรณนา
3.5.2 การวิเคราะห์เชิงปริมาณ
3.6 สถิติที่ใช้ในการศึกษา
6.4 การเขียนบทที่ 4 ผลการศึกษาค้นคว้า
จำแนกผลการศึกษาค้นคว้าเป็นด้านต่าง ๆ ให้ตรงตามวัตถุประสงค์ของการศึกษาค้นคว้าและสร้างองค์ความรู้ โดยรายงานออกเป็นตารางในเชิงปริมาณ หรือรายงานโดยการพรรณนา โดยจะต้องมีการสรุปภาพรวมของการศึกษาค้นคว้าโดยการอาศัยเครื่องมือที่ผู้ศึกษาได้นำไปใช้มาแล้วทั้งในเชิงปริมาณและเชิงพรรณนา
ตัวอย่าง 1 การจัดทำเอกสารเชิงปริมาณ โดยใช้ตารางเป็นการอภิปราย
ตาราง 1 ข้อมูลทั่วไปของผู้ตอบแบบสอบถาม
ลักษณะเพศ |
จำนวน |
ร้อยละ |
ชาย |
11 |
42.3 |
หญิง |
15 |
57.7 |
รวม |
26 |
100.0 |
จากตาราง 1 พบว่า จำนวนผู้ตอบแบบสอบถามเป็นเพศหญิงมากที่สุดรองลงมาเป็นเพศชาย โดยคิดเป็นร้อยละ 57.7 และ 42.3 ตามลำดับ
ตัวอย่าง 2 การจัดทำเอกสารเชิงปริมาณโดยใช้ตารางเป็นการอภิปราย
ตาราง 2 ข้อมูลทั่วไปของผู้ตอบแบบสอบถาม
อายุ |
จำนวน |
ร้อยละ |
15-20 |
3 |
11.5 |
21-25 |
4 |
15.4 |
26-30 |
10 |
38.5 |
31-35 |
9 |
34.6 |
รวม |
26 |
100.0 |
จากตาราง 2 พบว่า จำนวนผู้ตอบแบบสอบถามมีช่วงอายุ 26-30 มากที่สุดรองลงมาช่วงอายุ 31-35 และช่วงอายุ 21-25ย โดยคิดเป็นร้อยละ 38.5,34.6 และ 15.4 ตามลำดับ
6.5 การเขียนบทที่ 5 สรุปอภิปรายผลและข้อเสนอแนะ
5.1 สรุป จากผลการศึกษา ไม่ใช่เป็นการย่อความจากผลการศึกษา แต่เป็นการสังเคราะห์จากบทผลการศึกษา โดยนำมาเขียนเป็นบทสรุป
5.2 อภิปรายผล หมายถึง การอภิปรายผลจากการใช้เครื่องมือ โดยการวิเคราะห์อย่างเป็นระบบ โดยนำมาเขียนให้เป็นกระบวนการ
5.3 ข้อเสนอแนะ เป็นการเสนอแนะในส่วนของผลการศึกษา ไม่ใช่การนำข้อมูลอื่น ๆ ที่ไม่เกี่ยวข้องกับผลการศึกษามาเสนอแนะ